Suriyan Somphong,
Wimonmas Prachakul, Ph.D. and Prof.Supitr Samahito, Ph.D.
Faculty of Sport Science, Kasetsart University ,
Kamphaeng Saen, Nakhon Pathom 73130
Abstract
The purpose of this
research was to construct and contrast the mental toughness measure for
taekwondo athletes between high moderate and low performance level. The One
hundred twenty samples were selected from taekwondo athletes who participated
in the 38th University Games 2011 using a purposive sampling method.
The instrument was the mental toughness measure for taekwondo athletes which
was created and developed by the researcher and verified by experts in sport
psychology and taekwondo coaches. Data then was analyzed by using the index of
item objective congruence for the construct validity and Cronbach’s alpha
reliability measure for the consistency of the mental toughness measure for taekwondo
athletes. Then one way ANOVA was administered to contrast the mental toughness
measure for taekwondo athletes between high moderate and low performance level
with the 0.05 level of significance.
The mental toughness measure for
taekwondo athletes were composed of 36 items which showed the construct
validity. The total for Cronbach’s alpha
reliability measure was 0.97. The 6 elements of Cronbach’s alpha reliability
measure resulted in concentration of 1.00, commitment of 0.80,
self-confidence of 0.95, negative energy of 0.80, positive energy of 0.95 and
adversity quotient of 0.75, all at a 0.05
significant level. The contrast between high moderate and low performance level
showed a significance deference of 0.05. Moreover the high performance level group
revealed the highest of mental toughness, the moderate and low performance
level, respectively.
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบวัดความเข้มแข็งทางจิตใจสำหรับนักกีฬาเทควันโด
และหาค่าความแตกต่างของความเข้มแข็งทางจิตใจในนักกีฬาเทควันโดที่มีความสามารถระดับสูง
ความสามารถระดับปานกลาง และความสามารถระดับต่ำ ในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 จำนวน 120 คน
ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบวัดความเข้มแข็งทางจิตใจสำหรับนักกีฬาเทควันโดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยการหาความแม่นตรงตามโครงสร้าง (construct validity)
ด้วยวิธีการคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (index of item
objective congruence) จากการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ
และหาค่าความเชื่อมั่น (reliability) โดยวิธีการของครอนบาช (Cronbach Method) และหาค่าความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยของแบบวัดความเข้มแข็งทางจิตใจในนักกีฬาเทควันโดที่มีความสามารถระดับสูง
ความสามารถระดับปานกลาง และความสามารถระดับต่ำ โดยใช้สถิติ F-test (one
way ANOVA) ทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ (multiple
comparison) ด้วยวิธีของ Tukey โดยใช้ความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
0.05
ผลการวิจัยพบว่า
แบบวัดความเข้มแข็งทางจิตใจสำหรับนักกีฬาเทควันโดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
มีความแม่นตรงตามโครงสร้าง จำนวนทั้งสิ้น 36 ข้อ และมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ
เท่ากับ 0.97 โดยมีความเชื่อมั่นขององค์ประกอบ ทั้ง 6
ด้าน ดังนี้ สมาธิและความตั้งใจ
เท่ากับ
1.00 ความมุ่งมั่น เท่ากับ 0.80 ความเชื่อมั่นในตนเอง เท่ากับ 0.95 การควบคุมพลังงานเชิงลบ เท่ากับ 0.80
ความสามารถในการสร้างพลังงานเชิงบวก เท่ากับ 0.95 ความอดทนต่อการผ่านอุปสรรค
เท่ากับ 0.75 และความเข้มแข็งทางจิตใจของนักกีฬาเทควันโดที่มีความสามารถระดับสูง ความสามารถระดับปานกลาง และความสามารถระดับต่ำ
มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
0.05 โดยนักกีฬาเทควันโดที่มีความสามารถระดับสูงจะมีความเข้มแข็งทางจิตใจสูงที่สุด
รองลงมาคือนักกีฬาเทควันโดที่มีความสามารถระดับปานกลาง และนักกีฬาเทควันโดที่มีความสามารถระดับต่ำจะมีความเข้มแข็งทางจิตใจน้อยที่สุด ตามลำดับ
คำสำคัญ : การสร้างแบบวัด, ความเข้มแข็งทางจิตใจ, นักกีฬาเทควันโด
Photo by Mr.Risato Ando
เเหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง : http://dric.nrct.go.th/bookdetail.php?book_id=263006
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น