บทนำ
“...การกีฬานั้นเป็นอุปกรณ์การศึกษาที่สำคัญยิ่ง
เพราะเป็นการกล่อมเกลาให้เด็กมีจิตใจอดทน กล้าหาญ รู้แพ้รู้ชนะ
ปลูกฝังพลานามัยให้แข็งแรง
เป็นปัจจัยส่งเสริมให้เด็กเป็นผู้มีสมรรถภาพทั้งในทางจิตใจและร่างกาย
เป็นผลสืบเนื่องไปถึงการเป็นพลเมืองของชาติ อันเป็นยอดแห่งความปรารถนา...” ความตอนหนึ่งจากพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในวโรกาสวันเปิดงานกรีฑานักเรียน
ประจำปี พ.ศ. 2504 1(การกีฬาแห่งประเทศไทย, 2549)
ซึ่งสามารถน้อมนำหลักปรัชญาที่แฝงด้วยคุณค่า
จากวลีข้างต้นนำมาเป็นแนวทางในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า “กีฬา” ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคมและปลูกฝังความมีน้ำใจนักกีฬา
(Sportsmanship) ให้เป็นค่านิยมและเป็นวัฒนธรรมที่จะสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นต่อไป
ซึ่งกีฬายังเป็นกระบวนการพัฒนาคนให้เป็นคนโดยสมบูรณ์ สอดคล้องกับแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
ฉบับที่ 5
(พ.ศ. 2555 - 2559)
โดยมีกรอบและทิศทางในการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาการกีฬาของประเทศ
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาล
ตลอดจนเพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนปฏิบัติราชการให้เกิดความต่อเนื่องในการพัฒนาการกีฬาของประเทศ ซึ่งมีเป้าหมายหลักข้อแรกกล่าวไว้ว่า
“เด็กและเยาวชนทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน อย่างน้อย ร้อยละ 80 มีความรู้ ความเข้าใจ มีเจตคติ และทักษะในการออกกำลังกายและการกีฬาขั้นพื้นฐาน มีคุณธรรม
จริยธรรม มีระเบียบวินัย และน้ำใจนักกีฬาตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์
รวมทั้ง สามารถออกกำลังกายและเล่นกีฬา ชมและเชียร์กีฬาตามระเบียบ และกฎ
กติกา” ซึ่งจะเห็นได้ว่า “จริยธรรมกับการเล่นกีฬา” จะสามารถทำให้ผู้เล่นกีฬามีคุณธรรมและรู้คุณค่าของกีฬาดังต่อไปนี้ คือ ทำให้เกิดความมีระเบียบวินัย
เช่นการเคารพระเบียบ กฎกติกาการแข่งขัน มีวินัยในตนเอง ทำให้เกิดความสามัคคี
ความร่วมมือและความเสียสละ มีน้ำใจนักกีฬา ทำให้นักกีฬารู้จักตนเอง และรู้จักหน้าที่ของตนเอง
ทำให้นักกีฬามีความรับผิดชอบ เป็นต้น
การมีน้ำใจนักกีฬาเป็นเรื่องที่พูดกันมากและพูดกันมานานแล้วว่า
การเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาควรจะมีการเริ่มสร้างและพัฒนาโดยให้สอดแทรกความเป็นนักกีฬาและความมีน้ำใจนักกีฬา
โดยให้เป็นวัตถุประสงค์หลักของการกีฬาในการใช้กีฬาสร้างคนให้เป็นคนดี ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
สิ่งที่ตามมาก็คือความคิดกับการกระทำสัมพันธ์กันหรือไม่ เพราะอาจจะคิดดีแต่ไม่ได้ทำ หรือทำไม่ได้
หรือทำแต่ผิด รวมทั้งที่ไม่ได้คิดแต่กระทำโดยไม่รู้ตัว หรือไม่ทราบว่านี่เป็นพฤติกรรมจริยธรรมการกีฬาหรือทั้งคิดและทำ
หรือไม่ได้คิดและไม่ได้ทำ เหล่านี้เป็นสิ่งแรกที่ควรนำมาพิจารณาประกอบการตั้งจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการสร้างและพัฒนาจริยธรรม
หากต้องกำหนดให้แน่ชัดว่า ความเป็นนักกีฬาคืออะไร? คำตอบที่ได้อาจจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับเราถามใคร? นักกีฬาชาติหรือนักกีฬาฝึกหัด? เพศอะไร? ระดับการแข่งใด? ระดับชาติที่แข่งขันเพื่อความเป็นเลิศหรือเพียงการแข่งขันเพื่อนันทนาการ รวมทั้งปรัชญา มาตรฐาน ค่านิยมของสังคมกีฬานั้นๆ
ดังนั้น การกำหนดขอบเขตคำอธิบายโดยรวมและจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมที่มีความเป็นกลางที่สุดที่จะให้นักกีฬาได้รับการพัฒนาความเป็น
“คน” และพัฒนา “จริยธรรม”
หลักสำคัญเกี่ยวกับการสร้างและพัฒนาจริยธรรมทางการกีฬา ข้อควรระวัง 3 ประการ ในการสร้างและพัฒนาจริยธรรมทางการกีฬา คือ
1) จริยธรรมไม่ได้เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติหลังจากการได้เข้าร่วมกิจกรรมกีฬา
2) การมุ่งเพื่อชัยชนะมากเกินไปจะเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้นักกีฬาหลงทาง
ขัดแย้งระหว่างจุดมุ่งหมายสูงสุดในการเข้าร่วม และแข่งขันกีฬา
3) การลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ทางการกีฬาให้ได้นั้น
ต้องมีข้อกำหนด กฎระเบียบให้ดียิ่งขึ้น เช่น กฎ กติกา และบทลงโทษสำหรับนักกีฬาที่กระทำผิด
เป็นต้น รวมทั้งการปลูกฝังความคิดที่ถูกต้อง ความมีคุณธรรม เพื่อที่จะให้เหตุผลกับตนเองให้ได้ว่าการกระทำใดถูก-ผิด
พึงประสงค์หรือไม่พึงประสงค์ สิ่งเหล่านี้มีรายละเอียดและคำอธิบายประกอบ ดังนี้
(3.1) ความมีน้ำใจเป็นนักกีฬาไม่ได้เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติหลังจากการได้เข้าร่วมกิจกรรมกีฬา
ความมีน้ำใจเป็นนักกีฬาและการพัฒนาในด้านจิตใจควรได้รับการส่งเสริมในขณะเข้าร่วม โดยพยายามระบุเป็นเชิงพฤติกรรมมากกว่าการให้คิดเองหรือเกิดเองลักษณะของนัก
กีฬา ทั้งเพศ วัย จุดมุ่งหมายหรือแรงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬา ลักษณะโค้ช หรือเป้าหมายขององค์กรกีฬานั้นๆ
รวมถึงวัฒนธรรมการกีฬาของแต่ละกีฬาย่อมให้คำจำกัดความเชิงพฤติกรรม ของจริยธรรมต่างกัน
ซึ่งหากไม่มีการชี้บ่งอย่างชัดเจน ย่อมทำให้เกิดพฤติกรรมตอบสนองต่อความคิดนั้นๆ
แตกต่างกัน จริยธรรมเป็นพฤติกรรมที่ได้รับการหล่อหลอมมาจากความเชื่อของสังคมและมาตรฐาน
ของสังคมนั้นๆ จริยธรรมเกิดได้จากการเห็นตัวอย่าง การได้เห็น และการพยายามทำตาม
ตลอดจนการได้แรงเสริมจากการกระทำนั้นๆ ว่าเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์หรือไม่พึงประสงค์ในสังคมนั้น
เช่น หากการโกงอายุเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและจากการเห็นตัวอย่างว่าทีมใดทีมหนึ่ง โกงอายุ
แล้วทำให้ทีมนั้นชนะอาจเป็นสาเหตุให้เขาเอาแบบอย่างบ้าง หากทำไปเรื่อยๆ
กรรมการจับไม่ได้ว่ามีการโกงอายุ และยังทำให้ทีมชนะย่อมทำให้ทีอื่นอยากทำบ้าง แต่ในทางตรงข้ามหากกรรมการจับได้
และมีการลงโทษรวมทั้งหากโค้ชไม่ยินยอมเป็นพฤติกรรมที่ยอมรับได้ ก็จะทำให้นักกีฬาอื่นกลัวที่จะโกงอายุ
แม้ว่าจะทำให้ทีมชนะก็ตาม
(3.2) การมุ่งเน้นชัยชนะมากเกินไปทำให้การเห็นแก่ตัวเห็นแก่ได้
และลดคุณค่าของจริยธรรมทางการกีฬา ในปัจจุบันการสร้างค่าความสำคัญของ “ชัยชนะ” กับการแข่งขันกีฬามากจนเกินไป ทำให้คุณค่าที่แท้จริงจากการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาลดลง
การมุ่งมั่นเพื่อชัยชนะมากเกินไปจะทำให้ความคิดทางจริยธรรมการกีฬาต่ำกว่าจริยธรรมการดำเนินชีวิต
ทั้งนี้ ยังเป็นเหตุการณ์เพิ่มอัตราเสี่ยงการบาดเจ็บทางการกีฬามากขึ้นด้วย
นอกจากนี้ยังทำให้เกิดคำกล่าวที่ว่า “คนดีอยู่นอกสนาม คนไม่ดีเท่านั้นจึงอยู่ในสนามได้”
ซึ่งทั้งนี้ก็เป็นผลมาจากมุ่งมั่นที่จะชนะมากเกินไปจึงทำให้เกิดความเห็นแก่ตัว
(Egocentric) ความต้องการที่จะเอาชนะ
การใช้วิธีการที่อาจไม่ถูกต้องเหมาะสมต่างๆ เพื่อให้ได้เป็นแชมเปี้ยน เช่นการใช้สารกระตุ้น
หรือกลโกงต่างๆ เพื่อให้ได้เปรียบคู่ต่อสู้ ซึ่งแน่นอนที่สุดเท่ากับการทำให้ความมีน้ำใจเป็นนักกีฬาลดลงนั่นเองในการ
พัฒนากีฬา พัฒนาคน คำพูดนี้ดูเหมือนกับว่าจะเป็นการกล่าวร้ายเกินไปและเป็นการที่มีทัศนคติที่
ไม่ดีต่อการกีฬาหรือการแข่งขันกีฬา เพราะการแข่งขันกีฬา เพราะการแข่งขันกีฬาย่อมเป็นส่วนหนึ่งของการกีฬาที่ช่วยในการพัฒนาทั้งความ
สามารถทางการกีฬาและและการพัฒนาความเป็นนักกีฬา เพียงแต่ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องระมัดระวัง
และเป็นความสำคัญและให้ความสำคัญของการแข่งขันให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของ การแข่งขันกีฬาที่แท้จริง
มากกว่าการที่จะมุ่งเน้นที่การแพ้-ชนะ มากเกินไปจนยอมที่จะกระทำการต่างๆ
เพื่อชัยชนะ จะทำให้คำกล่าวนั้นเป็นจริง ซึ่งเท่ากับว่ากีฬาทำลายคนได้เช่นเดียวกับการสร้างคน
หรือเท่ากับการสร้างคนไม่เต็มคน คือ ดีแต่ร่างกาย ไม่ช่วยพัฒนาจิตใจเลย
(3.3) การลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์โดยการเปลี่ยนองค์ประกอบภายนอกทางการกีฬา
เช่นเดียวกับการสร้างแนวคิดภายในตัวนักกีฬาเอง สิ่งแรกที่ควรจะกำหนดหรือระบุว่า
จริยธรรม ความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา คืออะไรให้เป็นเชิงพฤติกรรมให้ทุกคนทราบแนวปฏิบัติ
เช่น การสลับกันเล่น การเคารพกฎ การแสดงความยินดีกับทีมชนะ ให้กำลังใจทีมแพ้ ฯลฯ
การให้กำลังใจ การให้แรงเสริมและการให้ผลย้อนกลับการกระทำที่ตอบสนองกับความมีน้ำใจเชิงพฤติกรรมที่ได้กำหนดไว้และลงโทษหากไม่ทำ
นอกจากนี้การสร้างเสริมแนวคิดภายในตัวนักกีฬาเองต้องกระทำเช่นกัน
โดยการชี้ให้เล่นหรืออธิบายถึงความเป็นไปในสนามและในชีวิตประจำวันว่าสอดคล้องกัน
เปิดโอกาสให้มีการพูดคุยถึงข้อขัดแย้งต่างๆ ของเหตุการณ์ต่างๆ ทางการกีฬาว่าเป็นอย่างไร
ทางออกที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร เช่น ในการเล่นบาสเกตบอล
เราวิ่งชนฝ่ายตรงข้ามล้มโดยไม่เจตนา เราควรจะต้องจับมือเพื่อช่วยให้เขาลุกขึ้นหรือไม่
ซึ่งคำตอบก็คือ ถ้าหากว่าเราไม่อยู่ในสภาวะที่ต้องครอบครองบอลในขณะนั้น แม้ว่าหากปล่อยในเขาล้มอยู่ทีมของเราจะส่งบอลได้เร็วขึ้นก็ตาม
หรือทำไมจึงไม่โกงอายุมาก ประสบการณ์มาก ทำให้ได้เปรียบในการแข่งขันกีฬา เป็นต้น นอกจากนี้ควรมีการนำตัวอย่างที่คาบเกี่ยวระหว่างจริยธรรมกับจุดมุ่งหมายใน
การแข่งขันให้นักกีฬาได้ถกเถียงกัน ดังตัวอย่าง นักกีฬาเรือใบสหรัฐ หยุดช่วยนักกีฬาเกาหลี
ทำให้เขาพลาดเหรียญทองไป ซึ่งจากการอภิปรายในทีมจะช่วยให้นักกีฬาเข้าใจหรือเรียนรู้เกี่ยวกับจริยธรรมดีขึ้น
ดังนั้น จึงพอสรุปได้ว่า ความมีน้ำใจนักกีฬาหรือความยุติธรรมในการกีฬา
จึงเป็นทั้งปัญหาที่หาข้อสรุปหรือระบุให้แน่ชัดเด็ดขาดไม่ได้ หากจุดมุ่งหมายในการแข่งขันเพื่อความเป็นเลิศมากเกินไป
จุดมุ่งหมายหลักในการเล่นและแข่งขันกีฬาคนนั้น หรือทีมนั้น การกำหนดวิธีการ
และการกระทำ ความมีน้ำใจนักกีฬาหรือจริยธรรมทางการกีฬา ข้อกำหนดวิธีการ
และการกระทำในการเข้าร่วมเพื่อความเป็นเลิศหรือมุ่งที่ชัยชนะไม่เรื่องแปลกแต่หากมากเกินไปจนลืมนึกถึงจุดประสงค์ที่แท้จริงของการกีฬาคือการพัฒนาคนโดยสมบูรณ์ ก็ถือการกีฬาประสบความล้มเหลว ไม่เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่แท้จริง
แม้ว่าลักษณะ ข้อกำหนด และวิธีการกระทำจริยธรรมของแต่ละคน แต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกันแต่อย่างไร
แนวทาง วิธีการและพฤติกรรมอย่างกลางๆ ควรได้รับการระบุไว้อย่างเด่นชัด รวมทั้งการจัดประสบการณ์ที่สร้างเสริมข้อกำหนดเหล่านั้นพร้อมกับการให้ความสำคัญ อย่าเข้าใจผิดว่าจริยธรรมเกิดได้เองโดยอัตโนมัติหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาแล้ว
แนวคิดที่เรียกว่าจิตสำนึกเหตุผลทางจริยธรรมการกีฬา และพฤติกรรมความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา
ควรมีการสร้างและปลูกฝังให้กับนักกีฬาทุกคน นอกจากนี้ ทุกคนควรมีโอกาสที่จะกระทำหรือมีประสบการณ์ในการกระทำหรือประพฤติจนเป็นอัตโนมัติ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วเท่ากับว่า กีฬาจะสร้างคนให้เป็นคนดีอย่างเต็มคน
คือ ดีทั้งกาย รูปร่างสมรรถภาพ สัดส่วน เเละความสามารถ ดีทางความคิด จิตใจ และสติปัญญา ที่รวมเป็นความมีน้ำใจเป็นนักกีฬาที่เรียกว่า "จริยธรรมทางการกีฬา"
เนื้อเรื่อง
1. น้ำใจนักกีฬา
(Sportsmanship)
2สุพิตร
(2555)
อธิบายคำว่า น้ำใจนักกีฬาในบริบทของกีฬาว่าเป็นการเล่นกีฬาด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม
เที่ยงธรรม มีศักดิ์ศรี ให้เกียรติซึ่งกันและกันและเล่นอย่างมิตรภาพ
น้ำใจนักกีฬาเป็นเครื่องมือสำคัญในการก่อให้เกิดการเรียนรู้ในการปฏิบัติตน
ในการจัดการระบบของเวลา การมีวินัยในตนเอง การเล่นอย่างขาวสะอาด
มานะอดทนพยายามด้วยความชื่นบาน และเล่นอย่างมีศักดิ์ศรี หากจะมีคำถามว่า
เรามีความเชื่อหรือไม่ว่า น้ำใจนักกีฬาเป็นเวทีของการพัฒนาชีวิต
เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่าอย่างยั่งยืน เชื่อแน่ว่าทุกคนคงไม่ปฏิเสธเพราะทุกคนเข้าใจดีว่าน้ำใจนักกีฬาเป็นวิถีแห่งชีวิต
และช่วยส่งเสริมให้ชีวิตมีคุณค่าในทุกๆบริบท
น้ำใจนักกีฬาสอนให้คนรู้จักเคารพเชื่อฟัง และปฏิบัติตามกฎ กติกา
ยอมรับในการเป็นผู้ชนะ ขณะเดียวกันก็ไม่ปฏิเสธในการเป็นผู้แพ้ น้ำใจนักกีฬาสอนคนให้มีทักษะทางด้านสังคม
สอนให้รู้จักการทำงานเป็นทีม เพราะทักษะของการทำงานเป็นทีมทำให้ทุกคนเข้าใจในบทบาทของตนเอง ทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม
การทำงานเป็นทีมเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ที่ช่วยทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่ม สร้างความมั่นใจให้กับผู้นำและผลที่จะได้ตามมาก็คือ
ทำให้เกิดความสามัคคี ปรองดอง
และเกิดสันติสุขตั้งแต่กลุ่มรากหญ้าไปจนถึงกลุ่มต่างๆในระดับชาติต่อไป
หากกีฬาจะเป็นสื่อสำคัญในการนำไปสู่การสร้างความมีน้ำใจนักกีฬาของคนในชาติ
ประเด็นของข้อคำถามที่น่าสนใจก็คือ จะใช้กีฬาเป็นกิจกรรมที่ผสมผสานเข้าไปในการศึกษาทั้งหมดได้หรือไม่
แน่นอน คำตอบที่ได้รับก็คือเป็นไปได้และควรจะเป็นเช่นนั้น
เพราะกีฬาเป็นสะพานเชื่อมโยงทำให้เกิดน้ำใจนักกีฬาและน้ำใจนักกีฬา
ก็ได้รับการยอมรับว่า เป็นคุณค่าของการดำรงชีวิตที่เกิดขึ้นได้ในสถาบันการศึกษา
ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทุกประเทศทั่วโลกจึงได้ยอมรับที่จะให้กีฬามีบทบาทสำคัญในสังคม
ในการที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชาติ แก้ปัญหาของชาติ
และช่วยกันขับเคลื่อนให้ประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไป
จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องให้ความสนใจ เอาใจใส่
เอาจริงเอาจังกับการนำเอาองค์รวมของกีฬามาเป็นพื้นฐานในการวางแผนงานต่างๆ
และจะต้องทำอย่างต่อเนื่องตลอดไป จึงจะทำให้เกิดผลอย่างยั่งยืน นักกีฬาผู้มีชื่อเสียงก็จะต้องเป็นตัวอย่างที่ดี
สถานศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จะต้องให้ความรู้
จะต้องมุ่งเน้นให้นักเรียนเข้าใจอย่างลึกซึ้งกับคำว่า “น้ำใจนักกีฬา”
มากกว่าที่จะมุ่งให้ความสำคัญกับจำนวนเหรียญที่ได้จากการแข่งขัน
หากทุกคนในชาติเป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬา พวกเขาก็จะสามารถสร้างชาติให้มีความมั่นคงถาวร
ทุกคนจะมีชีวิตอย่างสันติสุข
2. “เพลงกราวกีฬา” บทเพลงแห่งจริยธรรมทางการกีฬา
โอลิมปิกเกมส์โบราณ
(Ancient
Olympic Games) เมื่อ 776 ปีก่อนคริศตศักราช (776
B.C.) จากหลักฐานตามประวัติศาสตร์ที่ได้มีการบันทึกไว้
และรวมถึงเรื่องราวจากโบราณสถานที่สำคัญๆต่างๆที่ยังเหลืออยู่ ณ Ancient
Olympia นั้น เป็นประวัติศาสตร์ที่สำคัญในอดีตที่สื่อถึงเทพนิยายอันเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับเทพเจ้า
ที่เป็นจุดรวมใจของมวลมนุษยชาติ
ซึ่งได้บ่งชี้ว่าจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของโอลิมปิกเกมส์โบราณ เมื่อราว 2,787
ปีที่ผ่านมา เพื่อเป็นการบูชาเทพเจ้าด้วยการใช้ความมุ่งมั่น
พยายามฟันฝ่าอุปสรรค อดทน และฝึกฝนตนเองให้แข็งแกร่ง
เชี่ยวชาญในชนิดกีฬาที่ตนเข้าร่วมการแข่งขัน โดยผู้ที่แข็งแกร่งที่สุดจะได้รับมงกุฎช่อมะกอกเพียงช่อเดียว
ซึ่งเป็นปริศนาให้ขบคิดกันว่าสุดท้ายแล้วรางวัลที่ได้รับไม่ได้เป็นทรัพย์สินที่มีราคาค่างวดแต่อย่างใด
เพียงแต่รางวัลที่ยิ่งใหญ่ที่นักกีฬาได้รับ
คือการมีส่วนร่วมในการแข่งขันและการที่ได้เรียนรู้ระหว่างเส้นทางแห่งความมานะพยายามสู่ความสำเร็จของตนเอง
และถือว่าเป็นแก่นแท้ของอุดมการณ์โอลิมปิกเกมส์สมัยใหม่ที่เกิดขึ้นครั้งแรกในปี
คศ. 1896 ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ตามเจตนารมณ์ของท่าน บารอน ปีแอร์ เดอ
คูเบอร์แตง (Baron
Pierre de Coubertin) ซึ่งท่านได้เคยกล่าวไว้ว่า“The
most important thing is not to win but to take part” กล่าวคือ
ความสำคัญแห่งโอลิมปิกหาใช่ชัยชนะไม่ หากอยู่ที่การเข้าร่วมการแข่งขันกันอย่างมีเกียรติ
โดยเป็นหลักแนวคิดที่สำคัญเกี่ยวกับอุดมการณ์โอลิมปิก (Olympism) ซึ่งเป็นปรัชญาที่สามารถช่วยสร้างเสริมคุณภาพชีวิตและช่วยให้เกิดสันติสุขแก่มวลมนุษยชาติได้โดยให้ทุกคนเห็นคุณค่าของกีฬา (Sport
Values) เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ
และความดื่มด่ำในคุณค่าของโอลิมปิกที่เกี่ยวข้องกับความเยี่ยมยอด (Excellence) มิตรภาพ (Friendship)
และการเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน (Respect)
อุดมการณ์โอลิมปิกที่พวกเราทุกคนซึมซับในคุณค่าที่ได้รับจากการถ่ายทอดมาอย่างยาวนาน
โดยผ่านกระบวนการโอลิมปิก (Olympic
Movement) และเพื่อเผยแพร่อุดมการณ์โอลิมปิกสำหรับประชาชนทุกเพศ
ทุกวัย โดยใช้กิจกรรมโอลิมปิกศึกษา (Olympic Education)
ที่หลากหลาย ซึ่งในการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อการมีส่วนร่วมและให้เห็นถึงคุณค่าของกีฬานั้น
ประเทศไทยมีเพลงๆหนึ่งที่คนไทยทุกคนคุ้นเคย
และเชื่อว่าทุกคนได้ซึมซับในเนื้อร้องและทำนองที่มีคุณค่าอันเป็นประโยชน์ที่จะส่งเสริมให้เห็นคุณค่าของกีฬาอันแฝงไปด้วยจริยธรรมทางการกีฬา
เพลงนั้นคือ “เพลงกราวกีฬา” ประพันธ์มาแล้วกว่า 92 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1942)
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ได้ประพันธ์บทเพลงนี้ขึ้น
ซึ่งมีเนื้อร้องที่ได้อธิบายถึงประโยชน์ของการออกกำลังกายและเล่นกีฬา
โดยจะสามารถช่วยพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และมีประโยชน์มากกว่ายาขนานใดๆ
ซึ่งในประเทศไทยมีการส่งเสริมให้นักกีฬาและบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในบริบทของกีฬาได้รับความรู้
ความเข้าใจในจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการแข่งขันกีฬาจากบทเพลงนี้
เพื่อให้เห็นความสำคัญของการมีน้ำใจนักกีฬา (Sportsmanship)
ปลูกฝังจิตวิญญาณที่ดีให้กับนักกีฬา
เพื่อให้วงการกีฬายังคงเป็นสัญลักษณ์ของความมุ่งมั่น ความพยายาม การฝึกฝน
ความเชี่ยวชาญ และความรักสามัคคีของมวลมนุษยชาติสืบต่อไป ดังอุดมการณ์โอลิมปิกที่สอดคล้องกับเนื้อร้องของเพลง
“กราวกีฬา”
ที่ร้อยเรียงบทประพันธ์ด้วยเนื้อร้องและทำนองได้อย่างสุนทรีย์และมีคุณค่า ดังนี้
เนื้อเพลง ถอดความ
พวกเรานักกีฬาใจกลาหาญ ตัวเราเหล่านักกีฬาผูมีจิตใจที่กลาหาญเด็ดเดี่ยว
เชี่ยวชาญชิงชัยไมยนยอ มีความเชี่ยวชาญทางด้านกีฬาเพื่อชิงชัยอย่างไมท้อถอย
คราวชนะรุกใหญไมรีรอ คราวเกมชนะก็จะรุกไลไมใหเสียโอกาส
คราวแพก็ไมทอกัดฟนทน คราวเกมแพก็จะไมทอถอยและจะพยายาม
อดทนฟันฝ่าต่ออุปสรรคต่างๆ
(สรอย) ฮึม ฮึม ฮึม ฮึม (สรอยเพลง)
กีฬา กีฬาเปนยาวิเศษ
ฮาไฮ ฮาไฮ “กีฬา”
คือยาวิเศษที่มีสรรพคุณมากกว่ายาขนานใดๆ
กีฬา กีฬาเปนยาวิเศษ
กีฬา กีฬาเปนยาวิเศษ
แกกองกิเลสทําคนใหเปนคน เปนยาวิเศษที่จะขัดเกลาใหคนเปนคนดี
ผลของการฝกตน
ผลของการฝกฝนตนเองในเชิงกีฬา
เลนกีฬาสากล
ตะละลา โดยการเลนกีฬาอยางเกมสากลนิยม
รางกายกํายําล้ำเลิศ ร่างกายแข็งแกร่งเปนเลิศ
กลามเนื้อกอเกิดทุกแหงหน ความแข็งแกร่งของร่างกายส่งผลให้มีกลามเนื้อที่ดี
แข็งแรงทรหดอดทน ร่างกายจะแข็งแรงและยังมีความอดทนเป็นเลิศ
วองไวไมยน ระยอใคร รวดเร็ว
กระฉับกระเฉง ไมกลัวที่จะพ่ายแพใคร
(สรอย) (สรอยเพลง)
ใจคอมั่นคงทรงศักดิ์
มีจิตใจเข้มแข็งมั่นคง
รูจักที่หนีที่ไล
รูจักการเอาตัวรอดที่ดีในเกมส์การแข่งขัน
รูแพ
รูชนะ รูอภัย เคารพในกฎกติกาและเล่นอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม
ไวใจไดทั่วทั้งรักชัง ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบก็ให้เคารพซึ่งกันและกัน
(สรอย) (สรอยเพลง)
ไมชอบเอาเปรียบเทียบแขงขัน ไม่คิดกลอุบายในสิ่งที่มุ่งหวังเพื่อชัยชนะเพียงอย่างเดียว
สูกันซึ้งหนาอยาลับหลัง ตอสูกันในเชิงกีฬาตามกฎกติกาที่กำหนดไว้
มัวสวนตัวเพื่อเหลือกําลัง
ไมเอาเรื่องสวนตัวมาครุนคิดใหกังวลใจ
เกลียดชังการเลนเห็นแกตัว นักกีฬาที่เล่นแบบเห็นแก่ตัวจะมีแต่คนรังเกียจเดียดฉัน
(สรอย) (สรอยเพลง)
เลนรวมกําลังกันทั้งพวก สามัคคีเป็นพลังที่ทุกคนร่วมแรงร่วมใจกัน
เอาชัยสะดวกไมใชชั่ว ชัยชนะจะได้มาอย่างภาคภูมิใจโดยไมตองใช้กลโกง
ไมวางานหรือเลนเปนไมกลัว ไมวาจะเผชิญกับอะไรก็ตามจะไมหวาดหวั่นต่อสิ่งนั้น
รวมมือกันทั่ว
ก็ไชโยฯ รวมมือร่วมใจกันทุกคน ก็จะได้รับซึ่งชนะ (รองไชโย)
(สรอย)
(สรอยเพลง)
นับเป็นปราชญ์แห่งกวี
สำหรับผู้ประพันธ์เพลงกราวกีฬา
ที่ได้ทิ้งมรดกอันมีคุณค่าให้คนไทยได้ศึกษาและเป็นแนวทางในการเรียนรู้
ซึ่งจากบทเพลงได้ปลูกฝังคุณค่าของกีฬาให้ทุกคนได้ตระหนักและไม่ละเลยในความสวยงามของกีฬาอย่างแท้จริง
สอดคล้องกับสถาบันวิทยาการโอลิมปิกระหว่างประเทศ (IOA)
ที่ได้ส่งเสริมกิจกรรมโอลิมปิกศึกษามาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า 56 ปี
โดยเปรียบเสมือนแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญและเป็นศูนย์รวมวิทยาการที่เกี่ยวกับโอลิมปิกจากอดีตถึงปัจจุบันและพัฒนาสู่อนาคตอย่างยั่งยืน
ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การศึกษา ทั้งนี้ สถาบันวิทยาการโอลิมปิกนานาชาติ (IOA) ได้มีการขยายเครือข่ายไปยังประเทศสมาชิกทั่วโลก 167 ประเทศ
เพื่อกระจายองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับอุดมการณ์โอลิมปิกให้กับมวลมนุษยชาติได้ดื่มด่ำ
และซึมซับคุณค่าอันเป็นมรดกที่ทิ้งไว้เพื่อให้สืบทอดสิ่งที่มีคุณค่านี้ต่อไป และกว่า
14 ปี ของสถาบันวิทยาการโอลิมปิคไทย (TOA) ที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการโอลิมปิก
โดยมีผู้นำที่มุ่งมั่นและมีปณิธานของผู้มีจิตวิญญาณโอลิมปิก (Olympic
spirit) อย่างท่าน รศ.ดร.สุพิตร สมาหิโต
ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการโอลิมปิคไทย ที่ได้นำบทเพลงแห่งอุดมการณ์โอลิมปิก
“เพลงกราวกีฬา” นี้มาเป็นเพลงประจำสถาบันวิทยาการโอลิมปิคไทย
เพื่อช่วยส่งเสริมและพัฒนาจิตสำนึกในคุณค่าของกีฬาให้กับเยาวชนไทย
โดยผ่านกิจกรรมวัฒนธรรมโอลิมปิกและโอลิมปิกศึกษา (Olympic Culture and
Education Activities) ให้ทุกคนได้รับรู้และเข้าใจถึงแก่นแท้ในคุณค่าของกีฬา
จริยธรรมทางการกีฬา และดำรงรักษาไว้ซึ่งอุดมการณ์โอลิมปิกสืบต่อไป
สรุปท้ายบท
เมื่อกล่าวถึงคำว่า “จริยธรรม”
ผู้ฟังหรือผู้อ่านมักจะพิจารณาอยู่ในกรอบคิดเกี่ยวกับศาสนา ทั้งนี้
เพราะคำสอนทางศาสนามีส่วนสร้างระบบจริยธรรมให้สังคม ดังคำกล่าวของ 3ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ว่า “จริยธรรมของสังคมไทยขึ้นอยู่กับระบบศีลธรรมของพุทธศาสนาว่า
กำหนดหลักในการปฏิบัติในชีวิตประจำไว้อย่างไร
หลักจริยธรรมก็จะกำหนดให้ปฏิบัติตามนั้น”
ทั้งนี้
จริยธรรมมาจากคำว่า จริย กับ ธรรมะ โดยคำว่า จริย หมายถึง ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ
ธรรมะ หมายถึง คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา ความจริง
ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ กฎหมาย เมื่อพิจารณาตามรูปคำจาก
4พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2535 ให้คำนิยามว่า “จริยธรรม” คือ
ธรรมที่เป็น ข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม
นอกจากนี้
ยังเห็นว่าโครงสร้างของแนวคิดด้านจริยธรรม จะประกอบด้วยคุณธรรมหลายประการ
ซึ่งส่วนมากมาจากคำสอนทางศาสนา ดังนี้
1. ความรับผิดชอบ (Accountability) คือ ความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความผูกพัน ด้วยความพากเพียร
และความละเอียดรอบคอบ ยอมรับผลการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่
เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย ทั้งพยายามที่จะปฏิบัติหน้าที่
ให้ดียิ่งขึ้น
2. ความซื่อสัตย์ (Honesty) คือ
การประพฤติอย่างเหมาะสม และตรงต่อความเป็นจริง ประพฤติ ปฏิบัติอย่างตรงไปตรงมา
ทั้งกาย วาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น
3. ความมีเหตุผล (Rationality) คือ
ความสามารถในการใช้ปัญญา ในการประพฤติปฏิบัติ รู้จักไตร่ตรอง พิสูจน์ให้ประจักษ์
ไม่หลงงมงาย มีความยับยั้งชั่งใจ โดยไม่ผูกพันกับอารมณ์และความยึดมั่นของตนเองที่มีอยู่เดิมซึ่งอาจผิดได้
4. ความกตัญญูกตเวที (Gratitude) คือ ความรู้สำนึกในอุปการคุณหรือบุญคุณที่ผู้อื่นมีต่อเรา
5. ความมีระเบียบวินัย (Disciplined) คือ การควบคุมความประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องและเหมาะสมกับจรรยามารยาท
ข้อบังคับ ข้อตกลง กฎหมาย และศีลธรรม
6. ความเสียสละ (Sacrifice) คือ
การละความเห็นแก่ตัว การให้ปันแก่บุคคลที่ควรให้ด้วยกำลังกาย กำลังสติปัญญา
รวมทั้งการรู้จักสลัดทิ้งอารมณ์ร้ายในตนเอง
7. การประหยัด (Thrifty) คือ
การใช้สิ่งของพอเหมาะพอควรให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ไม่ให้มีส่วนเกินมากนัก
รวมทั้งการรู้จักระมัดระวัง รู้จักยับยั้งความต้องการให้อยู่ในกรอบและขอบเขตที่พอเหมาะ
8. ความอุตสาหะ (Diligence) คือ
ความพยายามอย่างเข้มแข็ง เพื่อให้เกิดความสำเร็จในงาน
9. ความสามัคคี (Harmony) คือ
ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
มีความพร้อมเพรียงร่วมมือกันกระทำกิจการให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี
โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว
10. ความเมตตาและกรุณา (Loving Kindness and
Compassion) คือ ความรักใคร่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นมีสุข กรุณา หมายถึง
ความสงสาร คิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
11. ความยุติธรรม (Justice) คือ
การปฏิบัติด้วยความเที่ยงตรง สอดคล้องกับความเป็นจริงและเหตุผล ไม่มีความลำเอียง
สำหรับการกีฬานั้น "จริยธรรม" มีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
ทั้งในด้านสุขภาพ ด้านพลานามัย และด้านจิตใจ
เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้ประชาชนสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว ชุมชน
และสังคม นำไปสู่การมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กีฬาถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว และชุมชน
ในประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลก จะอาศัยกระบวนการของกีฬา เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม
เพื่อสร้างเครือข่ายชุมชน ตลอดจนการสร้างจิตสำนึกในการดำรงชีวิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม
มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
เคารพในสิทธิของตนเองและผู้อื่นเป็นรากฐานที่ดีของสังคม
องค์กรของประเทศต่างๆทั่วโลก
รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศจึงได้สนับสนุนให้มีการใช้กีฬา การออกกำลังกาย
และนันทนาการ เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชากรของประเทศตน
จากบทสรุปข้างต้น
กีฬาจะคงอยู่คู่มวลมนุษยชาติตราบชั่วลูกชั่วหลานได้นั้น จำเป็นจะต้องอยู่ในกรอบของคำว่า
“จริยธรรม” ฉะนั้น
ความมุ่งใส่ใจในคุณค่าของจริยธรรมทางการกีฬาจึงเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะพัฒนานักกีฬาควบคู่กับการพัฒนาความสามารถทางด้านกีฬา
โดยผู้ที่มีบทบาททางการกีฬาจึงควรที่จะมองให้รอบด้านอย่างลุ่มลึก
เพื่อกีฬาจะได้คงอยู่คู่กับการเคลื่อนตัวของโลกสืบต่อไป
เอกสารอ้างอิง
1การกีฬาแห่งประเทศไทย (2549) หนังสือพระมหากษัตริย์นักกีฬา. การกีฬาแห่งประเทศไทย กทม.
2สุพิตร สมาหิโต (2555) วารสารวันโอลิมปิก 2012 (Olympic Day 2012).
คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, กรุงเทพมหานคร.
3ม.ร.ว.คึกฤทธิ์
ปราโมช (2528) พระพุทธศาสนากับคึกฤทธิ์. เดอะบุ๊ค เลิฟเวอร์ กทม.
4พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. 2535
Coin Casino | Free Play, Bonus Offers & Review
ตอบลบIs it legal to play at Coin Casino? Coin Casino is 1xbet korean a gambling site that's been around since 바카라사이트 1996 and has since established a presence in the 인카지노 casino industry.