วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557

ประสบการณ์อันทรงคุณค่า ณ ดินแดนแห่งอุดมการณ์โอลิมปิก

 

ประสบการณ์อันทรงคุณค่า ณ ดินแดนแห่งอุดมการณ์โอลิมปิก

“Ancient Olympia” ต้นกำเนิดอารยธรรมแห่ง อุดมการณ์โอลิมปิก (Olympism) นับเป็นรากฐานของความเจริญรุ่งเรืองในอดีตกว่า 776 ปีก่อนคริตศักราช ที่ยังคงเหลือมรดกอันทรงคุณค่าให้กับมวลมนุษยชาติ ได้ซึมซับความเป็นปรัชญาที่แทรกซึมอยู่ ณ โบราณสถานอันวิจิตรงดงามมากมายทั่วทั้งประเทศกรีซ ดังที่ตั้งตระหง่านอยู่ ณ ใจกลางเมืองเอเธนส์ นั่นก็คือวิหารโบราณศักดิ์สิทธิ์ Acropolis, Parthenon และสนามกีฬาโอลิมปิกโบราณ (Ancient Olympia Stadium) รวมถึงโบราณวัตถุต่างๆ ที่ยังคงรักษาไว้เป็นอย่างดีในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ โดยเฉพาะเทวรูปของเทพเจ้าและเทพีต่างๆ เช่น เทพเจ้า Zeus และเทพี Nike เป็นต้น ทั้งนี้ คุณค่าของความเป็นโอลิมปิกเกมส์โบราณ (Ancient Olympic Games) ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์ที่สำคัญในอดีต โดยจะสื่อถึงเทพนิยายอันเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับเทพเจ้าที่เป็นศูนย์รวมใจของมวลมนุษยชาติในอดีต และเป็นความมุ่งหมายสำคัญที่แท้จริงของโอลิมปิกเกมส์โบราณในการมุ่งมั่นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเกมส์แห่งความศักดิ์สิทธิ์และเกมส์แห่งการบูชาเทพเจ้า โดยการใช้ความมานะพยายาม ฟันฟ่าอุปสรรค อดทน และฝึกฝนตนเองให้แข็งแกร่ง เชี่ยวชาญในชนิดกีฬาที่ตนเข้าร่วมแข่งขัน สุดท้ายผู้ที่ได้รับชัยชนะหาใช่เป้าหมายสำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด คือรางวัลแห่งความภาคภูมิใจ และการมีส่วนร่วมในเกมส์การแข่งขันและได้เรียนรู้ระหว่างเส้นทางแห่งความพยายามสู่ความสำเร็จของตน ซึ่งผู้ที่ได้รับชัยชนะนั้น จะได้รับช่อมะกอกเพียงช่อเดียวอันเป็นรางวัลที่ไม่มีราคาค่างวดใดๆ แต่มีคุณค่าทางจิตใจเป็นอย่างยิ่ง จากอุดมการณ์โอลิมปิกที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่า กลายเป็นมรดกและแนวปรัชญาที่ก่อให้เกิดโอลิมปิกเกมส์สมัยใหม่ (Modern Olympic Games) ครั้งแรกขึ้น ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ในปี ค.ศ.1896 โดยท่าน Baron Pierre de Coubertin บิดาแห่งโอลิมปิกเกมส์สมัยใหม่เป็นผู้ริเริ่มขึ้น  


จากโอลิมปิกเกมส์โบราณสู่โอลิมปิกเกมส์สมัยใหม่ ภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่ยังคงแนวคิดตามหลักการของอุดมการณ์โอลิมปิก และโอลิมปิกเกมส์สมัยใหม่ยังเป็นสัญลักษณ์แห่งความสันติสุขและเสรีภาพ (Peace) ที่มีการขับเคลื่อนโดยกระบวนการโอลิมปิก (Olympic Movement) และโอลิมปิกศึกษา (Olympic Education) ที่มีคุณค่าแฝงด้วยปรัชญา จนกระทั่งในปี ค.ศ 1961 สถาบันวิทยาการโอลิมปิกระหว่างประเทศ (International Olympic Academy: IOA) ได้ตั้งขึ้นเพื่อเผยแพร่อุดมการณ์โอลิมปิก ตามเจตนารมณ์ของท่าน Baron Pierre de Coubertin ปัจจุบันสถาบันวิทยาการโอลิมปิกระหว่างประเทศ ได้ขับเคลื่อนกระบวนการโอลิมปิกเพื่อส่งเสริมและพัฒนาโอลิมปิกศึกษาควบคู่กับโอลิมปิกเกมส์ มาครบปีที่ 50 ในปี ค.ศ 2011 ซึ่งเป็นที่น่ายินดียิ่งสำหรับการสืบทอดมรดกอันทรงคุณค่าจากรุ่นสู่รุ่นได้อย่างเข้มแข็งในทุกๆบริบท โดยเฉพาะกิจกรรมของ IOA ที่ได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องทุกปี ในวาระครบรอบ 50 ปี IOA และเป็นปีที่ 51 ของการจัดกิจกรรม International Session for Young Participants ซึ่งเป็นกิจกรรมสำหรับเยาวชนจากทั่วโลกทั้ง 5 ทวีป 140 ชาติ จำนวนกว่า 190 คน ที่ได้มาเป็นส่วนหนึ่ง ณ ดินแดนแห่งอุดมการณ์โอลิมปิกนี้ด้วยกัน ตลอดระยะเวลา 15 วัน ระหว่างวันที่ 25 มิถุนายน 9 กรกฎาคม 2554 Ancient Olympia, IOA ประเทศกรีซ ซึ่งเป็นห้วงเวลาที่มากด้วยคุณค่า ประสบการณ์ และความรู้อันเป็นแก่นแท้ของอุดมการณ์โอลิมปิก อีกทั้งยังได้รับมิตรภาพ (Friendship) ความเยี่ยมยอด (Excellence) และการให้เกียรติซึ่งกันและกัน (Respect) ในความแตกต่างของเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม ซึ่งเป็นโอกาสดีที่ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวคิด และทัศนคติที่แตกต่างในเป้าหมายเดียวกัน ณ ดินแดนแห่งอุดมการณ์โอลิมปิกนี้ ซึ่งมีการหล่อหลอมความแตกต่างโดยใช้กิจกรรมตามแนวปรัชญาของโอลิมปิกศึกษาในทุกๆบริบทของการมีส่วนร่วม โดยเฉพาะการถ่ายทอดความรู้เชิงวิชาการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยการระดมความคิด และการส่งเสริมให้เห็นคุณค่ากีฬา (Sport Values) จนทำให้เกิดคุณค่าในวิถีแห่งการดำเนินชีวิตของตนเอง ด้วยปรัชญาของโอลิมปิกศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาคนให้เป็นคนโดยสมบูรณ์ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ทั้งนี้ ทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่มุ่งหวังจะช่วยขับเคลื่อนกระบวนการโอลิมปิกของประเทศไทย ในทุกๆโอกาสที่ได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโอลิมปิกศึกษาเพื่อพัฒนาเยาวชนไทยจากประสบการณ์และความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอด ณ ดินแดนแห่งอุดมการณ์โอลิมปิกนี้ และขอขอบพระคุณสำหรับโอกาสและประสบการณ์ที่มีคุณค่าครั้งนี้ สำหรับสถาบันวิทยาการโอลิมปิคไทย (Thailand Olympic Academy: TOA) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านรองศาสตราจารย์ ดร.สุพิตร สมาหิโต ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการโอลิมปิคไทย ผู้ริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นผู้หว่านเมล็ดพันธุ์แห่งอุดมการณ์โอลิมปิกไปทั่วทุกสารทิศกับวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในการให้ความสำคัญต่อกระบวนการพัฒนากีฬาชาติ อันควรมีรากฐานจากการพัฒนา คน ให้มีการเรียนรู้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณค่ากีฬา” (Sport Values) และคุณค่าโอลิมปิก (Olympic Values) ให้กับเยาวชน นักกีฬาและบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้รับรู้ เรียนรู้ และฝึกฝนในศาสตร์ของกีฬาอย่างผู้รู้ รู้อย่างเข้าใจ กล่าวคือ รู้ให้จริงในสิ่งที่เข้าใจและปฎิบัติ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการพัฒนากีฬาชาติ ตลอดระยะเวลากว่า 9 ปี ของ TOA ด้วยภารกิจของผู้อำนวยการสถาบันฯ เป็นผู้ซึ่งเปี่ยมไปด้วยจิตวิญญาณโอลิมปิก (Olympic Spirit) อย่างแท้จริง ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งท่านได้เข้ามาสัมผัส ศึกษา และเรียนรู้ ณ ดินแดนแห่งอุดมการณ์โอลิมปิก “Ancient Olympia” แห่งนี้มาก่อนและเป็นการสนองเจตนารมณ์ของท่าน Barron Pierre de Coubertin สถาบันวิทยาการโอลิมปิคไทย จึงได้สนับสนุนกิจกรรมของ IOA ในการส่งบุคคลเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมที่ IOA จัดขึ้นในทุกๆกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่ภาคภูมิใจกับประสบการณ์อันมากด้วยคุณค่าสำหรับกิจกรรม 51st International Session for Young Participants 2011 ซึ่งทำให้เกิดประกายความมุ่งมั่นที่จะอุทิตตนเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนกระบวนการโอลิมปิกของประเทศไทยต่อไป


รวบรวมและเรียบเรียงโดย

นายสุริยัน สมพงษ์
11 กรกฏาคม 2555



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สุนทรียะโตเกียวเกมส์ (ตอนที่ 1) #สาระน่ารู้พิธีเปิดโตเกียวเกมส์

สุนทรียะโตเกียวเกมส์ ตอนที่ 1 สาระน่ารู้พิธีเปิดโอลิมปิกเกมส์ 2020 1.ผู้เเทนนักกีฬาถือธงชาตินำขบวนพาเหรดของเเต่ละ NOC ประกอบด้วย ผู้หญิง 1 ค...