วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

The Marketing Factors Influencing Consumer Decisions to Use The Services Provided by an Exercise Center in Thailand: The Case Study of The PAC Sports Center


Suriyan Somphong,
Taweesak Parsithoon, Vorapong Chobchuen,
Chananan Samahito and Issadee Kutintara, Ph.D.
Faculty of Sports Science (Sport Management), Kasetsart University, Thailand.

Abstract

This research study aims to investigate consumer’s behavior of using the services provided by an exercise unit, the PAC Sports Center, in Thailand and the marketing factors affecting their decisions to use the services by using a research framework or marketing mix strategic theory (7 P’s of marketing) in order to use findings as the guidelines for creating marketing mix strategies for exercise centers. The researcher purposively sampled 400 customers and three managers of the PAC Sports Center. The research instruments were questionnaires and constructive interviews checked by calculating the construct validity with the index of item objective congruence (IOC) from experts considerations and the reliability with data triangulation.

According to the findings, it was found that the majority of the customers of the PAC Sports Center were males and 20 – 30 years. Their occupations were employees and students. Their incomes were 10,001-20,000 baht. They had experiences in using the services provided by exercise centers both inside and outside Thailand. Most of them used the services provided by complete exercise centers. The reason for using the services was physical fitness improvement. They used the services during their weekends. The appropriate duration for using the services was 2 hours. The frequency of using the services was 1 – 2 times per week. The most popular time for using the services was 18.00 – 21.00. They also had co-decision makers to use the services. To use the services by themselves, they used the reservation services provided by the exercise centers via telephone. They received information about the exercise centers by word of mouth. Regarding their opinions about the trend of using the services provided by the exercise centers in Thailand, the number of customers will increase in the future.

The important component for creating efficient marketing strategies for exercise centers is the focus on the customers by generally considering their demands, then creating and developing demanded services, examining price rates affordable and acceptable for them, and using good communication processes between service providers and their customers in order to provide publication channels and improve services. Importantly, service providers have to find the ways to provide convenient services for their customers in all aspects in order to meet their demands and provide worthy services.

Keywords: Marketing Factors, Exercise Center, The PAC Sports Center

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการใช้บริการศูนย์ออกกำลังกาย และปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการศูนย์ออกกำลังกายในกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา เดอะ แพค สปอร์ต เซ็นเตอร์ โดยใช้กรอบในการศึกษา ได้แก่ ทฤษฎีว่าด้วยกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด (7 P’s of marketing) และเพื่อนำผลการวิจัยที่ได้มาใช้เป็นแนวทางกำหนดกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดของธุรกิจศูนย์ออกกำลังกาย และผู้วิจัยได้ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) จากผู้มาใช้บริการของเดอะ แพค สปอร์ต เซ็นเตอร์ จำนวน 400 คน และผู้บริหารของเดอะ แพค สปอร์ต เซ็นเตอร์ จำนวน 3 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยการหาความแม่นตรงเชิงโครงสร้าง (construct validity) ด้วยวิธีการคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (index of item objective congruence) จากการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ และหาค่าความเชื่อมั่น (reliability) โดยวิธีการตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูล (data triangulation)

ผลการวิจัยพบว่า ผู้มาใช้บริการศูนย์ออกกำลังกาย เดอะ แพค สปอร์ต เซ็นเตอร์ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 20-30 ปี ประกอบอาชีพเป็นลูกจ้าง พนักงาน และนักเรียน นักศึกษา โดยมีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีรายได้เฉลี่ย 10,001-20,000 บาท ซึ่งเป็นผู้เคยมีประสบการณ์ในการใช้บริการศูนย์ออกกำลังกายมาก่อน ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด โดยส่วนใหญ่เลือกใช้บริการศูนย์ออกกำลังกายที่ครบวงจร โดยมีเหตุจูงใจที่ส่งเสริมให้ตัดสินใจเลือกใช้บริการศูนย์ออกกำลังกาย คือ เป็นการสร้างเสริมสมรรถภาพร่างกายที่ดี และเลือกใช้บริการศูนย์ออกกำลังกายในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ ใช้เวลาที่เหมาะสมในการทำกิจกรรมการออกกำลังกายในศูนย์ออกกำลังกาย คือ 2 ชั่วโมง ความบ่อยในการใช้บริการศูนย์ออกกำลังกาย คือ 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ โดยช่วงเวลาที่มาใช้บริการศูนย์ออกกำลังกายบ่อยมากที่สุด คือ เวลา 18.00-21.00 น. โดยผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจใช้บริการศูนย์ออกกำลังกายจะเลือกด้วยตนเอง และใช้วิธีการจองหรือเลือกใช้บริการศูนย์ออกกำลังกายผ่านทางโทรศัพท์ ส่วนการรับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับศูนย์ออกกำลังกาย จะทราบมาจากการบอกต่อจากเพื่อน/คนรู้จัก สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มความนิยมในการใช้บริการศูนย์ออกกำลังกายในประเทศไทยในอนาคต จะมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นมากกว่าในปัจจุบัน

การกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพของศูนย์ออกกำลังกาย เป็นการมุ่งเน้นที่ผู้มารับบริการเป็นหลัก โดยมีการพิจารณาโดยรอบว่า ผู้รับบริการต้องการอะไร แล้วสร้างสรรค์และพัฒนางานบริการในจุดนั้น พิจารณาการกำหนดราคาค่าบริการในอัตราที่ผู้รับบริการสามารถจ่ายได้และเต็มใจที่จะจ่าย มีกระบวนการสื่อสารที่ดีระหว่างผู้มารับบริการและผู้ให้บริการ ทั้งเพื่อการนำมาปรับปรุงรูปแบบการให้บริการ และเป็นช่องทางประชาสัมพันธ์ และที่สำคัญคือทำอย่างไรให้ผู้รับบริการมีความสะดวกสบายในทุกๆด้าน ตอบสนองบริการที่ต้องการและคุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่จ่ายไป

คำสำคัญ : ปัจจัยทางการตลาด, การเลือกใช้บริการศูนย์ออกกำลังกาย, เดอะ แพค สปอร์ต เซ็นเตอร์


The PAC's Information http://www.thepacsportscenter.com/index.html

The Construction of Mental Toughness Measure for Taekwondo Athletes


Suriyan Somphong,
Wimonmas Prachakul, Ph.D. and Prof.Supitr Samahito, Ph.D.
Faculty of Sport Science, Kasetsart University, Kamphaeng Saen, Nakhon Pathom 73130 

Abstract

The purpose of this research was to construct and contrast the mental toughness measure for taekwondo athletes between high moderate and low performance level. The One hundred twenty samples were selected from taekwondo athletes who participated in the 38th University Games 2011 using a purposive sampling method. The instrument was the mental toughness measure for taekwondo athletes which was created and developed by the researcher and verified by experts in sport psychology and taekwondo coaches. Data then was analyzed by using the index of item objective congruence for the construct validity and Cronbach’s alpha reliability measure for the consistency of the mental toughness measure for taekwondo athletes. Then one way ANOVA was administered to contrast the mental toughness measure for taekwondo athletes between high moderate and low performance level with the 0.05 level of significance.

The mental toughness measure for taekwondo athletes were composed of 36 items which showed the construct validity.  The total for Cronbach’s alpha reliability measure was 0.97. The 6 elements of Cronbach’s alpha reliability measure resulted in concentration of 1.00, commitment of 0.80, self-confidence of 0.95, negative energy of 0.80, positive energy of 0.95 and adversity quotient of 0.75, all at a 0.05 significant level. The contrast between high moderate and low performance level showed a significance deference of 0.05. Moreover the high performance level group revealed the highest of mental toughness, the moderate and low performance level, respectively.


Key words: Measurement, Mental Toughness, Taekwondo Athletes

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบวัดความเข้มแข็งทางจิตใจสำหรับนักกีฬาเทควันโด และหาค่าความแตกต่างของความเข้มแข็งทางจิตใจในนักกีฬาเทควันโดที่มีความสามารถระดับสูง ความสามารถระดับปานกลาง และความสามารถระดับต่ำ ในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 จำนวน 120 คน ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบวัดความเข้มแข็งทางจิตใจสำหรับนักกีฬาเทควันโดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยการหาความแม่นตรงตามโครงสร้าง (construct validity) ด้วยวิธีการคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (index of item objective congruence) จากการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ และหาค่าความเชื่อมั่น (reliability) โดยวิธีการของครอนบาช (Cronbach Method) และหาค่าความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยของแบบวัดความเข้มแข็งทางจิตใจในนักกีฬาเทควันโดที่มีความสามารถระดับสูง ความสามารถระดับปานกลาง และความสามารถระดับต่ำ โดยใช้สถิติ F-test (one way ANOVA) ทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ (multiple comparison) ด้วยวิธีของ Tukey โดยใช้ความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ผลการวิจัยพบว่า แบบวัดความเข้มแข็งทางจิตใจสำหรับนักกีฬาเทควันโดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีความแม่นตรงตามโครงสร้าง จำนวนทั้งสิ้น 36 ข้อ และมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.97 โดยมีความเชื่อมั่นขององค์ประกอบ ทั้ง 6 ด้าน ดังนี้ สมาธิและความตั้งใจ เท่ากับ 1.00 ความมุ่งมั่น เท่ากับ 0.80 ความเชื่อมั่นในตนเอง เท่ากับ 0.95 การควบคุมพลังงานเชิงลบ เท่ากับ 0.80 ความสามารถในการสร้างพลังงานเชิงบวก เท่ากับ 0.95 ความอดทนต่อการผ่านอุปสรรค เท่ากับ 0.75 และความเข้มแข็งทางจิตใจของนักกีฬาเทควันโดที่มีความสามารถระดับสูง ความสามารถระดับปานกลาง และความสามารถระดับต่ำ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยนักกีฬาเทควันโดที่มีความสามารถระดับสูงจะมีความเข้มแข็งทางจิตใจสูงที่สุด รองลงมาคือนักกีฬาเทควันโดที่มีความสามารถระดับปานกลาง และนักกีฬาเทควันโดที่มีความสามารถระดับต่ำจะมีความเข้มแข็งทางจิตใจน้อยที่สุด ตามลำดับ

คำสำคัญ  : การสร้างแบบวัด, ความเข้มแข็งทางจิตใจ, นักกีฬาเทควันโด




Photo by Mr.Risato Ando

เเหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง : http://dric.nrct.go.th/bookdetail.php?book_id=263006

วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557

การออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพใจ


การออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพใจ (ฉบับบทคัดย่อ)

สังคมในยุคโลกาภิวัฒน์ ประาชนส่วใหญ่ต่างก็ต้องปรับตัห้เข้ากับสิ่งแวดล้อมอบตัวที่มีารเปลี่ยนปลงตลอดเวลา และสิ่งต่างๆเหล่านั้นยังส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะประชาชนผู้ที่มีสุขภาพไม่แข็งแรงและสมรรถภาพทางกาไม่ดีก็จะประสบกับปัญหาสุขภาพได้ง่าย และเป็นที่ทรบกันดีอยู่แล้วว่าสมรรถภาพทางายที่ดีจะป็นผลมาจาการออกกำลังกายอย่างม่ำมอ การออกกำลังกายไม่ใช่เรื่องยาก แค่เริ่มต้นตั้งใจปฏิบัติ โดยเลือกออกกำลังกายด้วยวิธีที่เหมาะสมก็ได้สุขภาพดีแล้ว ซึ่งผลที่ได้จากการออกกำลังกายนั้นจะทำให้อวัยวะมีการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพ มีความสมบูรณ์แข็งแรง ชะลอความเสื่อม และมีการพัฒนาทั้งรูปร่าง ความคิด จิตใจ และความสามารถในการทำงาน

ดังนั้น การส่งเสริมและสนับสนุนให้คนมีพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการมีสุขภาพกายและใจที่ดี สามารถเริ่มจากการสังเกตบุคคลรอบข้างและตัวเราเองให้เห็นถึงประโยชน์ของการออกกำลังกาย โดยการสังเกตตนเองก่อนว่าชอบหรือสนใจที่จะออกกำลังกายอะไรที่เหมาะกับตัวเรา การเสริมแรงโดยการหาเพื่อนไปทำกิจกรรมร่วมกัน สามารถก่อให้เกิดแรงจูงใจ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญและมีบทบาทต่อพฤติกรรมของบุคคลในทุกด้าน โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการออกกำลังกาย (Exercise Behavior) และการออกกำลังกายยังมีผลต่อสภาพจิตใจ โดยสามารถช่วยลดภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความเครียด ซึ่งมีผลต่อร่างกายโดยตรง ดังนั้น การสร้างแรงจูงใจจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการออกกำลังกาย เช่น ผู้นำการออกกำลังกายที่จะทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมยังคงออกกำลังกายต่อเนื่อง โดยไม่เลิกหรือหยุดก่อนเวลาอันควร และสิ่งที่ส่งผลต่อการสร้างแรงจูงใจก็จะมีปัจจัยสำคัญที่ประกอบด้วย สภาพแวดล้อม ความหลากหลายของกิจกรรม และอิทธิพลของผู้นำกิจกรรมที่จะมีผลต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดี รวมถึงการสร้างประสบการณ์ในแง่บวกต่อการออกกำลังกาย ซึ่งจะหล่อหลอมให้คนเกิดการเห็นคุณค่าในตนเอง (self esteem) จากการที่ได้แสดงความสามารถและเกิดความมั่นใจจากการเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดเจตคติ (attitude) ที่ดีต่อการออกกำลังกาย

ในการนี้ การกำหนดโปรแกรมสุขภาพจึงเป็นการเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) โดยใช้การเสริมแรงทางสังคม (Social Reinforcement) ซึ่งเป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดการซึมซับคุณค่าของการออกกำลังกาย เพื่อการปรับพฤติกรรมการออกกำลังกายให้เป็นลักษณะนิสัย จนกลายเป็นการเสพติดการออกกำลังกาย (Exercise Adherence) และเป็นการเพิ่มกลุ่มประชากรของคนสุขภาพดีให้แก่สังคมไทย ดังนั้น การนำเสนอบทความ เรื่อง การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพกาย สุขภาพใจ จะเป็นการสรุปผลการศึกษา ค้นคว้า รวบรวมข้อมูลเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ โดยการทบทวนวรรณกรรมและนำข้อมูลเชิงประจักษ์มาสร้างแผนส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ทั้งในการส่งเสริมเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติการที่เหมาะสมสำหรับบุคคลและสังคม โดยมีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาเป็นกลุ่มเป้าหมายที่จะสร้างให้เป็นหน่วยงานต้นแบบในการส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพใจอย่างพอเพียงและยั่งยืนต่อไป

คำสำคัญ: การออกกำลังกาย, สุขภาพกาย, สุขภาพใจ

เรียบเรียงโดย

สุริยัน สมพงษ์
11 พฤศจิกายน 2558







วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

ผู้นำทางการกีฬา: กรณีศึกษาจากภาพยนตร์ เรื่อง “โค้ชคาร์เตอร์” (Sport Leadership: A Case study from the movies “Coach Carter”)


บทนำ

การเป็นผู้นำทางด้านการออกกำลังกายและการกีฬา (Exercise and Sport Leadership) มีดัชนีชี้วัดความสำเร็จจากการที่มีผู้มาร่วมกิจกรรมมากน้อยขนาดไหน รวมถึงมาแล้วมีความสุขหรือไม่? ประสบความความสำเร็จดังที่ตนเองตั้งใจไว้เพียงใด? มีการพัฒนาทั้งด้านร่างกายและจิตใจครบสมบูรณ์ และซึมซับคุณค่าของการออกกำลังกายและกีฬาโดยพร้อมที่จะให้การออกกำลังกายและเล่นกีฬาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตหรือไม่? ถ้าผู้นำไม่สามารถปฏิบัติได้ดังที่กล่าวมานั้น ก็จะเป็นการบ่งชี้ว่า ผู้นำไม่ประสบความสำเร็จในการที่จะทำให้คนมาออกกำลังกายและมาเล่นกีฬาตามวัตถุประสงค์ได้ สอดคล้องกับ 1(Borrow, 1977. อ้างถึงใน สืบสาย, 2541) กล่าวว่า ผู้นำทางการกีฬา เป็นกระบวนการของพฤติกรรมที่มีอิทธิพลต่อบุคคลหรือกลุ่มเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายที่ได้วางไว้ ทั้งนี้ การสร้างทีมกีฬา หรือการสร้างนักกีฬาให้มีความสามารถในการเล่นสูงสุดได้นั้น ปัจจัยที่สำคัญคือการบริหารจัดการเวลาในการที่จะวางแผนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพและประสบการณ์ให้แก่นักกีฬา ซึ่งโค้ชหรือผู้นำของทีมจะเป็นผู้จัดเตรียมเกี่ยวกับการฝึกอย่างมีประสิทธิภาพ มีการแนะแนว แนะนำยุทธวิธีที่นักกีฬาควรจะได้เรียนรู้และฝึกฝน ทั้งทางด้านสมรรถภาพทางกาย (Physical Fitness) ความสามารถด้านทักษะ (Skill Performance) และที่สำคัญคือความสามารถทางด้านจิตใจ (Mental Performance) ที่จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งของจิตใจ และกำหนดระดับแรงจูงใจของนักกีฬา เพื่อพัฒนาความสามารถในการกีฬา รวมทั้งการช่วยเหลือด้านต่างๆ ตลอดจนการให้รางวัลสำหรับการเล่นและการกระทำในสิ่งที่ดีมีประสิทธิภาพ ในทางตรงกันข้าม อาจจะต้องมีการลงโทษเพื่อลดหรือตัดการกระทำอันไม่พึงประสงค์

ทั้งนี้ ในบริบททางการกีฬา มิติของผู้นำทางการกีฬา สามารถสะท้อนให้เห็นถึงการประสานสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ฝึกสอน (โค้ช) กับนักกีฬา นักกีฬากับนักกีฬา สังคมกับกีฬา โค้ชกับผู้บริหาร ผู้บริหารกับนักกีฬา และโค้ชกับโค้ช เป็นต้น เพื่อก่อให้เกิดความรู้สึกของการเป็น “ทีม” เดียวกัน และช่วยเสริมให้มีความรู้สึกของการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างบุคคลในกลุ่ม ทุกๆระดับ จนสามารถพัฒนาให้กลายเป็นทีมที่มีการทำงานร่วมกัน (Teamwork) และมีจิตใจที่เข้มแข็ง (Mental Toughness) จากบทบาทของความเป็นผู้นำในมิติต่างๆที่แตกต่างกัน ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญในการที่จะขับเคลื่อนทีมกีฬาให้ประสบความสำเร็จได้ ซึ่งบทบาทของผู้นำทางการกีฬานั้น มีความหลากหลายตามระดับของการเรียนรู้ ประสบการณ์ ความสามารถ จุดมุ่งหมายในการฝึกกีฬา ความต้องการของนักกีฬาหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือแม้แต่บุคลิกภาพของนักกีฬาและโค้ช ย่อมส่งผลทำให้บทบาทและพฤติกรรมของผู้นำทางการกีฬาแตกต่างกันไป จากความแตกต่างในบทบาทและพฤติกรรมของผู้นำทางการกีฬาที่แสดงออก สามารถเรียนรู้และวิเคราะห์พฤติกรรมโดยเชื่อมโยงกับหลักการและทฤษฏีด้วยเหตุและผลอย่างเข้าใจในภาพยนตร์เรื่อง “โค้ชคาร์เตอร์” ทุ่มแรงใจจุดไฟฝัน ปีค.ศ.2005 จากค่าย Sony Classics นำแสดงโดย แซมมวล แอล. แจ๊คสัน (นักแสดงผู้เข้าชิงรางวัลออสการ์) จากภาพยนตร์ดังกล่าว เป็นกรณีศึกษาที่น่าเรียนรู้จากบทบาทและพฤติกรรมของผู้นำทางการกีฬา เพื่อให้เข้าใจว่าการเป็นโค้ชไม่ใช่เรื่องยาก แต่การเป็นโค้ชที่ดีนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก ถ้าทุกคนยังไม่รู้บทบาทและคุณค่าของความเป็นผู้นำทางการกีฬาที่ถูกต้อง ดังภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ฉายให้เห็นภาพในมิติต่างๆ โดยเฉพาะหัวใจของภาพยนตร์เรื่องนี้คือ “Athletes First Winning Second” กล่าวคือ การให้ความสำคัญที่จะพัฒนานักกีฬาเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่าการได้มาซึ่งชัยชนะ ซึ่งความมุ่งมั่นตั้งใจและความทุ่มเทของโค้ชจะสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการของความเป็นผู้นำที่ดี และบทบาทของความเป็นผู้นำระหว่างนักกีฬากับนักกีฬา หรือแม้แต่สังคมที่มีผลกระทบต่อกีฬาในมิติของการเป็นผู้นำที่เกิดขึ้นกับทีม เนื้อหาต่างๆเหล่านี้สามารถเรียนรู้จากกรณีตัวอย่างในภาพยนตร์เรื่อง “โค้ชคาร์เตอร์” ทุ่มแรงใจจุดไฟฝัน

เนื้อเรื่อง

สรุปสาระสำคัญจากบทภาพยนตร์ เรื่อง “โค้ชคาร์เตอร์” ทุ่มแรงใจจุดไฟฝัน

ณ โรงเรียนมัธยม ริชมอนต์ ย่านสลัมในแคลิฟอร์เนีย โค้ชบาสเก็ตบอลคนเก่าจะเกษียญอายุ โรงเรียนได้มาขอให้โค้ชคาร์เตอร์ เจ้าของร้านกีฬามาเป็นโค้ชให้โรงเรียน เพราะคาร์เตอร์เคยเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนริชมอนต์แห่งนี้มาก่อน และได้รับโคว์ต้าเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย โดยลูกชายของโค้ชคาร์เตอร์เรียนอยู่โรงเรียนเซ็นฟรังซิส โรงเรียนระดับต้นๆของมลรัฐ มีชุดยูนิฟอร์ม ใส่สูท ผูกไท้ และเป็นนักกีฬาบาสเก็ตบอลของโรงเรียนนี้ด้วย พื้นฐานของทีมบาสเก็ตบอลโรงเรียนริชมอนต์ คือภายหลังจากจบการแข่งขันมักจะปรากฎผลแพ้เป็นประจำ ทะเลาะวิวาทกันเอง ไม่มีระเบียบวินัย ตัดสินด้วยอารมณ์ ขนาดแข่งขันเสร็จสิ้นแล้วยังไม่ทราบเลยว่าปีที่แล้วใครเป็นแชมป์ของมลรัฐ โค้ชคาร์เตอร์เข้ามาวันแรก สิ่งที่สอนสิ่งแรกคือ การเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน (Respect)  กล่าวคือ การเรียกทุกคนในทีมว่าท่าน (Sir)

“ครูซ” ตัวแสบประจำทีม เดินออกจากห้องซ้อม เนื่องจากไม่พอใจในสัญญาระหว่างนักกีฬากับโค้ช และครูซก็ไปค้ายาเสพติดในที่สุด โค้ชคาร์เตอร์ไม่ได้ให้เด็กเล่นบาสเก็ตบอลเพียงอย่างเดียว แต่จะให้พ่อแม่ครอบครัวมีส่วนร่วมผลักดันด้วย กฎของโค้ชที่ให้ผู้ปกครองเซ็นสัญญาก่อนเข้าแข่งขัน เด็กต้องผูกไท้ ผู้ปกครองไม่เห็นด้วย โดยอ้างเหตุผลต่างๆนาๆ เช่นจะไปหาซื้อได้ที่ใหน ราคาก็แพง แต่โค้ชบอกผู้ปกครองเหล่านี้ว่า “ร้านมือสองก็มี หรือที่ร้าน Everything 99 เซ็นต์”ซึ่งผู้ปกครองมองว่าโค้ชคิดว่าพวกตนจน? จึงทำให้ผู้ปกครองส่วนใหญ่คิดว่า “แค่นี้ฉันก็ซื้อให้ลูกได้” ซึ่งถือว่าเป็นกุศโลบายที่ดีสำหรับวิธีการของโค้ชคาร์เตอร์ และนักกีฬาจะต้องได้เกรดเฉลี่ยขั้นต่ำ 2.3 ซึ่งเกรดเฉลี่ย 2.00ก็เพียงพอต่อการที่จะได้รับเลือกเข้ามหาวิทยาลัยแล้ว ซึ่งนักกีฬาจะต้องทำให้ได้มากกว่าเกณฑ์ เวลาเรียนต้องนั่งหน้าชั้น เข้าเรียนเต็มเวลา และให้อาจารย์ทุกวิชาส่งผลการเรียนของนักกีฬาให้ดู ซึ่งทั้งหมดนี้คือสัญญาระหว่างโค้ชคาร์เตอร์ที่มีต่อการเป็นนักกีฬาบาสเก็ตบอลของทีมริชมอนต์ ส่งผลทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองไม่พอใจกับกฎที่โค้ชคาร์เตอร์ตั้งไว้ดังกล่าว ผู้ปกครองบอกว่า “บาสเก็ตบอลคือสิทธิพิเศษน๊ะ” ทำไมต้องวางระเบียบขนาดนี้ โค้ชบอกว่า “ใช่คือสิทธิพิเศษที่เล่นกันเป็นทีม ถ้ารักษากฎง่ายๆแค่นี้เบื้องต้นไม่ได้ก็ไม่ต้องมาเล่นบาสเก็ตบอล และพรุ่งนี้ใครสนใจที่จะร่วมทีมก็มาเซ็นสัญญา”กระบวนการฝึกซ้อมทักษะเบื้องต้นอย่างหนักของโค้ชคาร์เตอร์ คือเข้าฝึกซ้อม เวลา 15.00 น. โดยต้องมาถึงสนามในเวลา 14.55 น. ถ้ามาสายต้องดันพื้น วิ่งแตะสนาม 250 ครั้ง และถ้าโต้เถียงเพิ่มอีก 500 ครั้ง เถียงอีกเพิ่มเป็น 1,000 ครั้ง เป็นต้น

ลูกชายของโค้ชคาร์เตอร์ขอลาออกจากโรงเรียนเซ็นฟรังซิส และมาเข้าเรียนในโรงเรียนริชมอนต์ เพราะลูกของโค้ชคาร์เตอร์อยากเป็นนักบาสเก็ตบอล และเชื่อในพ่อของตนว่าเป็นคนดี สามารถทำให้ตนเองเก่งได้ โดยยื่นข้อเสนอกับพ่อว่าจะทำเกรดให้ได้ 3.5 และจะทำงานเพื่อสาธารณะประโยชน์จาก 10 ชั่วโมงเป็น 50 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ลูกของโค้ชคาร์เตอร์บอกว่า “ถ้าตนเองเป็นที่หนึ่งของริชมอนต์ ก็จะสามารถเลือกเข้ามหาวิทยาลัยไหนก็ได้” โดยข้อแม้ของโค้ชคาร์เตอร์ ที่มีต่อลูกของตนคือต้องทำเกรดเฉลี่ยให้ได้ 3.7

สำหรับการแข่งขันของทีมริชมอนต์นั้น ได้รับชัยชนะเป็นครั้งแรก “ครูซ” นักกีฬาตัวแสบที่เดินออกจากสนามฝึกซ้อมขอกลับเข้ามาร่วมทีมอีกครั้ง โดยเข้ามาหาโค้ชคาร์เตอร์ ซึ่งโค้ชคาร์เตอร์บอกว่า “ได้คุณครูซแต่ต้องดันพื้น 2500 ครั้ง วิ่งแตะพื้น 1000 ครั้ง ภายในวันศุกร์นี้” ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหลืออีกไม่กี่วัน โค้ชคาร์เตอร์ยังถามต่ออีกว่า “คุณกลัวอะไรคุณครูซ...กลัวแพ้ใช่ไหม” ครูซได้ยินเช่นนี้ก็แสดงความมุ่งมั่นตั้งใจในเงื่อนไขของโค้ช โดยรีบไปดันพื้นและวิ่งแตะพื้น สุดท้ายเมื่อครบกำหนดเวลา ครูซก็ไม่สามารถทำครบได้ โดยวิ่งแตะพื้นขาดไป 80 ครั้ง และดันพื้นขาดอีก 500 ครั้ง โค้ชคาร์เตอร์บอกว่า “คุณไม่ได้เข้าร่วมทีมกับเราแล้วคุณครูซ” เพื่อนๆในทีมแสดงความมีน้ำใจนักกีฬาของทีม (Team Spirit) โดยการขอดันพื้นกับวิ่งแตะพื้นแทนครูซเพราะโค๊ชบอกว่าเราคือทีม “คนหนึ่งเดือดร้อน เราเดือดร้อน คนหนึ่งชนะ เราชนะด้วย” เพื่อนนักกีฬาภายในทีมกล่าว

ณ สถานการณ์การแข่งขัน เกิดการเล่นนอกเกม ด่าทอกันบ้าง หรือล้อเลียนกันบ้าง เพื่อกดดันและยั่วยุอารมณ์คู่ต่อสู่ ซึ่งสิ่งที่โค้ชคาร์เตอร์บอกคือ “พวกคุณชนะมาตลอด เยาะเย้ยคู่ต่อสู้เมื่อได้แต้ม พวกคุณใช้สิทธิ์อะไรทำให้เกมส์เปรอะเปื้อน ด้วยคำพูดเยาะเย้ย พวกคุณใช้สิทธิอะไรใส่เสื้อตราริชมอนต์” ซึ่งเหล่านักกีฬาก็ให้เหตุผลว่า “พวกนั้นเยอะเย้ยเราครับ” โค้ชคาร์เตอร์ถามต่อว่า “เราทำตัวมีระดับไม่ได้เหรอ ทำตัวเหมือนแชมป์ไม่ได้เหรอ” แล้วสั่งให้ทุกคนดันพื้นคนละ 500 ครั้ง เพื่อเป็นการลงโทษ

จูเนียร์เป็นนักกีฬาที่มีความโดดเด่นของทีมริชมอนต์ แล้วก็มีข่าวลงหนังสือพิมพ์และปีหน้าก็จะเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยแล้ว แต่ยังอ่านหนังสือไม่ออก โดยเป็นคำล้อเลียนจากเพื่อนๆ โค้ชเลยบอกให้ไปเข้าเรียนให้เต็มเวลาก่อน มีสิทธิ์ที่จะซ้อมได้ แต่ไม่ให้ลงแข่งขัน จูเนียร์โกรธมาก โดยบอกโค้ชว่า “มันเป็นคนละเรื่องกัน” จูเนียร์เลยเดินออกจากสนามไป กลางดึกวันเดียวกันนั้นเอง แม่กับจูเนียร์มาหาโค้ชที่ร้าน บอกโค้ชว่า “พี่ชายจูเนียร์ถูกยิงตายตนเองเหลือลูกคนเดียว ดิฉันไม่ได้มาขอสิทธิพิเศษให้เมตตาแต่อย่างใด” โค้ชบอกว่า “ให้จูเนียร์มาคุยเอง” จูเนียร์บอกโค้ชว่า “ผมทำได้ครับ ผมจะพยายามเข้าเรียนให้สม่ำเสมอ”

การได้แข่งทัวนาเม็นต์และชนะต่อเนื่องมาโดยตลอด ทำให้มีแฟนคลับเพิ่มมากขึ้น นักกีฬากลายเป็นคนดัง และสาวๆลูกคนรวยในเมืองก็ได้จัดปาร์ตี้ในบ้าน โดยชวนทีมริชมอนต์ไปฉลองชัยชนะ และโค้ชก็มาตาม กลับที่พัก เนื่องจากประพฤติปฏิบัติไม่เหมาะสม

จากผลการเรียนทั้งหมด โค้ชคาร์เตอร์เอามาดูก็แทบจะเป็นลบ ทุกคนเกือบทั้งหมดในทีมติด F รวมทั้งเวลาเรียนก็ไม่พอ โค้ชคาร์เตอร์ตัดสินใจปิดโรงยิมทันที จนกว่าทีมริชมอนต์จะเข้าเรียนเต็มเวลา คะแนนจะดีขึ้น นักกีฬาภายในทีมคนหนึ่งบอกว่า “แต่ผมทำได้คะแนนเฉลี่ยได้ 3.3 นะครับโค้ช” โค้ชคาร์เตอร์บอกว่า “นั้นเธอคนเดียว ไม่ใช่ในทีมทั้งหมด เราต้องไปด้วยกัน” กับความไม่เข้าใจกัน และมองคนละมุม ครูใหญ่ให้นักบาสเก็ตบอลสร้างชื่อเสียงให้โรงเรียนอย่างเดียว อย่างอื่นไม่สน ซึ่งทัศนะคติของผู้ปกครองคิดว่า “ลูกตนเองทำชื่อเสียงให้โรงเรียน เป็นคนดังของย่านริชมอนต์ เป็นคนดังของรัฐไปแล้ว ทำไมต้องปิดโรงยิมด้วย” โค้ชได้แถลงข่าวบอกถึงสิ่งที่ทำลงไปด้วยเหตุและผล ซึ่งมีความแตกต่างจากทัศนะคติของผู้บริหารโรงเรียนและผู้ปกครองอย่างสิ้นเชิง โค้ชคาร์เตอร์บอกนักกีฬาว่า “พวกเราล้มเหลว (We're fail) บางคนรักษาสัญญาไว้ได้ แต่เราคือ “ทีม” จนกว่าทุกคนจะทำตามสัญญาได้ จึงจะเปิดโรงยิม” โค้ชคาร์เตอร์ อธิบายให้กับนักกีฬาเข้าใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า “ฉันเห็นอะไร ฉันเห็นระบบการเรียนทำให้พวกเธอล้มเหลว พวกเธอชอบสถิติ ฉันยกตัวอย่างให้ดู นักเรียนริชมอนต์จบแค่ 50% เด็กแค่ 6% เข้ามหาวิทยาลัยได้ มองไปแต่ละห้องมีเด็กคนเดียวเข้ามหาวิทยาลัยได้ คำถามคือ ถ้าเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้จะไปอยู่ที่ไหน คำตอบคือ สำหรับอเมริกันเชื้อสายอาฟริกัน อาจเข้าไปอยู่ในคุก มองไปรอบๆพวกเธอ หนึ่งในนั้นอาจถูกจับ โตขึ้นในริชมอนต์โอกาสเข้าคุกมากกว่าเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย 80% และนั้นคือตัวเลข”เรื่องลุกลามไปจนกระทั้งข่มขู่โค้ชคาร์เตอร์ ไม่ว่าจะที่โรงเรียน ที่ร้านขายอุปกรณ์กีฬา หรือกลางถนน ทั้งนี้มีการประชุมสภาผู้ปกครอง และสภาครูผู้ปกครองมีมติไล่โค้ชคาร์เตอร์ออก ด้วยคะแนนมติ 4:2 ภายหลังจากต้องออกจากการเป็นโค้ช คาร์เตอร์มาเก็บของและได้ไปที่โรงยิม สิ่งที่เป็นภาพประทับใจ นั่นคือเด็กๆทั้งหมด นั่งตั้งใจเรียน มีคุณครูอาสาสมัครช่วยติวให้ นักกีฬาบอกต่อหน้าโค้ชว่า “เราตัดสินใจว่าเราต้องทำให้สำเร็จ อย่ามายุ่งกับเรา เราต้องทำให้ได้ครับ” จนกระทั่งนักกีฬาทุกคนสามารถเรียนผ่านเกณฑ์ที่โค้ชกำหนดไว้

เกมสำคัญสำหรับการแข่งขันกับโรงเรียนเซ็นต์ฟรังซิส แชมป์อันดับหนึ่งของประเทศ เชื่อว่าจะได้เข้าทีมNBAปีหน้า ซึ่งเป็นการลงแข่งขันระดับรัฐครั้งแรกของริชมอนต์ ซึ่งผลปรากฏว่าทีมเซ็นฟรังซิสชนะโค้ชคาร์เตอร์ปลอบใจนักกีฬาว่า “พวกเธอเล่นเหมือนแชมป์ แชมป์ต้องเชิดหน้าไว้ สิ่งที่เธอได้มากกว่านั้น พวกเธอได้ลงข่าวหน้า 1 หน้าSectionกีฬาเต็มหน้า พวกเธอได้รับมากกว่าพวกเค้า ที่พวกเค้าตามหามาทั้งชีวิต สิ่งที่พวกเธอได้รับคือชัยชนะภายในใจที่หายากยิ่ง และทุกๆท่านผมภูมิใจในพวกคุณมาก บ้านเกิดของเราคือ ริชมอนต์!!!” ทีมริชมอนต์ออกมาจากห้องพักนักกีฬาโดยใส่สูท ผูกไท้ออกมาและได้รับการต้อนรับจากแฟนคลับ

ทีมริชมอนต์ไม่ชนะการแข่งขันระดับรัฐ แต่ทีมริชมอนต์มีนักกีฬา 5 คนได้ทุนเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย และอีก 6 คน สามารถเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย จูเนียร์ แบทเทิลได้ทุนที่ซานโฮเซสเตท เจสันไลน์ เรียนที่ซานดิเอโก จบการศึกษาด้านบริหารธุรกิจ ครูซตัวแสบเข้ามหาวิทยาลัยฮัมโบล์สเตท ได้ลงตำแหน่งเป็นการ์ดในช่วงแรก แจรอนได้ทุนเรียนมหาวิทยาลัย ซานฟรานซิสโก สเตท ลงตำแหน่งผู้คุมเกมส์รุกตลอดสี่ปี เคย่อนได้เรียนที่มหาวิทยาลัยซานคราเมนโต ได้ปริญญาสื่อสารมวลชน ดาเมียนลูกโค้ชคาร์เตอร์ทำลายสถิติโรงเรียนริชมอนต์ ด้านคะแนนทำลายสถิติที่พ่อตนเองเคยทำไว้ที่โรงเรียน ได้ทุนเรียนศึกษาต่อวิทยาลัยการทหารสหรัฐ ที่เวสพอยต์

“โค้ชคาร์เตอร์” สอนให้รู้ว่า....กีฬา” ทำให้บุคคลมีคุณภาพชีวิตที่ดี สร้างจิตวิญญาณของการเป็นทีม สร้างมิตรภาพ เป็นเวทีของชีวิต และ “ผู้นำทางการกีฬา” เป็นบุคคลสำคัญที่จะปลูกฝัง “คุณค่าของกีฬา” ให้กับเด็กและเยาวชนได้เป็นอย่างดี

วิเคราะห์ความเป็นผู้นำทางการกีฬา: กรณีศึกษาจากภาพยนตร์ เรื่อง “โค้ชคาร์เตอร์

จากเรื่องจริงของเค็น คาร์เตอร์ (Ken Carter) ผู้เป็นทั้งโค้ชบาสเก็ตบอลและโค้ชชีวิตของเด็กๆในทีมนั้นกลายเป็นข่าวใหญ่ระดับประเทศ ที่ไม่ยอมให้ทีมบาสเก็ตบอลซึ่งสร้างชื่อเสียงให้โรงเรียนลงแข่งจนกว่าผลการเรียนของเด็กๆในทีมจะดีขึ้นตามที่ได้สัญญาไว้ก่อนที่โค้ชคาร์เตอร์จะมาเป็นโค้ชให้กับทีม ซึ่งโค้ชเห็นว่าเด็กนักเรียนริชมอนต์จบการศึกษาเพียงแค่ 50% เด็ก 6% เข้ามหาวิทยาลัยได้ และส่วนใหญ่ที่ไม่จบกว่า 80% อยู่ในคุก เนื่องจากอาชญากรรมต่างๆ โค้ชจะต้องผ่านอุปสรรคต่างๆมากมาย ซึ่งโค้ชคาร์เตอร์ก็สามารถเอาชนะอุปสรรคต่างๆ และสามารถแสดงให้บรรดาเหล่านักกีฬาที่ไม่มีเป้าหมายในอนาคตได้เห็นว่า อนาคตของพวกเขาต้องไปไกลกว่าการเป็นนักเลงหัวไม้ ติดยาเสพติด หรือติดคุก และไม่ได้จบลงที่บาสเก็ตบอลตลอดไป ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ชมทุกคน เพราะเป็นการสร้างทีมบาสเก็ตบอลที่ไม่มีชื่อเสียง ไม่เคยได้เข้าแข่งขันในระดับมลรัฐมาก่อน อีกทั้งสมาชิกในทีมก็เต็มไปด้วยปัญหา ทั้งปัญหาทางด้านการเรียนและด้านทักษะการเล่นกีฬา แต่โค้ชคาร์เตอร์ก็ทำให้ทีมริชมอนต์กลายเป็นทีมที่แข็งแกร่ง สามารถเข้าแข่งขันชิงชนะเลิศกับทีมชั้นหนึ่งได้

ทักษะการโค้ชสำหรับการเป็นผู้นำทางการกีฬา สำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้มีความเหมาะสำหรับคนที่เป็นโค้ช คนที่เป็นหัวหน้างาน ผู้บังคับบัญชา ผู้บริหารทุกระดับ ครูอาจารย์ นิสิต นักศึกษา นักกีฬา หรือแม้กระทั่งพ่อแม่ผู้ปกครองก็จะได้ประโยชน์จากภาพยนตร์เรื่องนี้ในหลายๆด้าน เช่

(1) การเป็นโค้ชที่ดีไม่ใช่สอนให้ลูกทีมเป็นคนเก่งอย่างเดียว แต่ต้องสอนให้เป็นคนดีของสังคม ต้องรู้จักคิด และมีความรับผิดชอบในตัวเอง อย่างโค้ชคาร์เตอร์เขาจะไม่ยอมให้ลูกทีมของเขาแข่งขันจนกว่าจะสอบได้คะแนนตามเกณฑ์ที่เขากำหนด เพราะเขาเห็นว่านักกีฬาต้องเก่งทั้งเรื่องกีฬาและเรื่องเรียนไปพร้อมๆกัน

(2) เมื่อนักกีฬามีฝีมือดี คนที่ชูตลูกได้เก่งที่สุดในทีมขอลาออกไปเพราะไม่ชอบสไตล์การโค้ชของเขา เขาก็บอกกับลูกทีมที่เหลือว่าไม่เป็นไร ไม่ต้องตกใจ เขาจะฝึกคนที่ยังอยู่ในทีม ให้มีฝีมือดีขึ้นมาให้ได้ แล้วเขาก็ทำได้สำเร็จ นั่นคือผู้นำที่ทำได้จริงอย่างที่พูด 

(3) การเป็นโค้ชจะต้องใช้เทคนิคที่หลากหลาย ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ แล้วแต่สถานการณ์ เมื่อลูกทีมบางคนแสดงความก้าวร้าวออกมา หรือทำผิดวินัยเขาก็ใช้มาตรการที่เฉียบขาดทันที (Disciplinary Action) แต่หากลูกทีมคนใดมีความรับผิดชอบและทำได้ดี เขาก็จะให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงบวก (Positive Feedback) ทันที

(4) คนเป็นโค้ช หรือผู้บังคับบัญชา จะต้องมีการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะติดตามผลและให้ข้อมูลย้อนกลับได้ทันท่วงที จะเห็นได้ว่าขณะที่ทีมของเขาซ้อมหรืออยู่ในสนามแข่งขันจริงก็ตาม เขาจะคอยดูแล คอยชี้แนะอย่างใกล้ชิด ช่วงไหนที่เพลี่ยงพล้ำก็จะขอเวลานอกเพื่อทำการโค้ชและปลุกขวัญกำลังใจให้ลูกทีมทันที

(5) ไม่ว่าจะเป็นผู้นำ หรือเป็นโค้ช จะต้องเป็นคนที่มีความยุติธรรมไม่ลำเอียง จะเห็นได้ว่าหากใครคนใดคนหนึ่งในทีมของโค้ชคาร์เตอร์ทำผิดกติกา หรือผิดข้อกำหนดที่ตกลงกันไว้จะต้องได้รับการลงโทษทุกคน ไม่ละเว้นแม้แต่ลูกชายของเขาเองที่เป็นนักกีฬาของทีมนี้ด้วย

(6) ฉากสุดท้ายตอนที่ทีมนักกีฬาของเขาแพ้ ไม่ได้เป็นแชมป์ ได้แค่ลำดับที่สอง โค้ชก็มีวิธีการพูดไม่ให้ทุกคนเสียกำลังใจ โค้ชพูดให้ทุกคนรู้สึกดี มีกำลังใจ ไม่รู้สึกแย่ โค้ชขอบคุณทุกคน และบอกว่าตนดีใจที่ทำให้ลูกทีมของตนที่เคยเป็นเด็กเมื่อ 4 เดือนที่แล้ว (ตอนที่ตนเข้ามาเป็นโค้ชให้ทีมนี้ใหม่ๆ) กลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบในวันนี้

บทสรุป
ผู้นำทางการกีฬาสามารถสะท้อนให้เห็นถึงการประสานสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง โค้ชกับนักกีฬา นักกีฬากับนักกีฬา สังคมกับกีฬา ดังนี้

(1) บทบาทความเป็นผู้นำของโค้ชที่มีต่อนักกีฬา สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมออกเป็น 2 ลักษณะ คือ พฤติกรรมเชิงบวก เป็นการสร้างแรงจูงใจในการที่จะกระตุ้นให้พฤติกรรมอันพึงปรารถนาเกิดขึ้น และพฤติกรรมเชิงลบ เป็นการทำให้กลัว เพื่อที่จะลดหรือขจัดพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาไม่ให้เกิดขึ้นอีก ซึ่งจากภาพยนตร์จะพบพฤติกรรมการตอบสนองทั้งสองลักษณะ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ทั้งนี้ แม้ว่าโค้ชในปัจจุบัน โดยเฉพาะโค้ชในประเทศไทย มักจะเลือกแสดงพฤติกรรมเชิงลบ เช่น การลงโทษ การตำหนิ วิพากษ์วิจารณ์ เพื่อการควบคุมพฤติกรรม โดยการทำให้กลัว ไม่กล้า และหยุดพฤติกรรมและการกระทำที่ผิดไม่ให้เกิดซ้ำอีก มากกว่าการสร้างแรงจูงใจ ซึ่งเป็นพฤติกรรมเชิงบวก โดยอาจจะส่งผลทำให้นักกีฬาเกิดความคับข้องใจจนเป็นสาเหตุของการเลิกเล่น (Burnout) กีฬาได้ในที่สุด

(2) บทบาทความเป็นผู้นำของนักกีฬากับนักกีฬา สภาวะการเป็นผู้นำของนักกีฬาภายในทีม ถือว่าเป็นศิลป์ที่ต้องใช้ยุทธวิธีที่ลึกซึ้งและเข้าใจวัฒนธรรมของทีมที่จะต้องประสานกับสมาชิกภายในทีม โดยสามารถที่จะคงรักษาระดับแรงจูงใจของทีม เพื่อให้สามารถฝึกซ้อมได้อย่างสนุกสนาน รู้สึกท้าทายในทุกสถานการณ์ ควบคุมสภาวะความกดดันภายในทีม และนำความสามารถของทุกคนที่มีอยู่ออกมาใช้ในการแข่งขันอย่างเต็มความสามารถได้อย่างเหมาะสม ซึ่งบทบาทความเป็นผู้นำของนักกีฬากับนักกีฬา จะต้องเป็นบุคคลที่เป็นที่ยอมรับ โดยจะพบได้จากในกลุ่มนักกีฬาจะต้องเป็นบุคคลที่มีวัยวุฒิมากกว่า หรือเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์สูงกว่า ซึ่งสภาวะการเป็นผู้นำของนักกีฬาด้วยกันเองจะเป็นสิ่งที่ทำให้หล่อหลอมความรัก ความสามัคคี จะเห็นได้จากกรณีศึกษาในภาพยนตร์ ในเหตุการณ์ที่เมื่อเกิดประเด็นปัญหาหรือไม่ยอมรับในความพ่ายแพ้ ก็มักจะมีเรื่องทะเลาะวิวาท ขาดความเข้าใจ โดยไม่มีการสื่อสารด้วยเหตุและผล เนื่องจากการขาดสภาวะการมีผู้นำที่มีต่อการแก้ไขสถานการณ์นั้นๆ แต่เมื่อโค้ชคาร์เตอร์ได้ซึมซับพฤติกรรมการเป็นผู้นำให้นักกีฬาได้เรียนรู้ บทบาทความเป็นผู้นำของนักกีฬาก็สามารถทำให้ทีมเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน เกิดความผูกพัน และเกิดความสัมพันธ์ภายในทีมทั้งในเกมและนอกเกม จนก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมที่ดีของทีม

(3) บทบาทของสังคมที่มีต่อกีฬา เมื่อกล่าวถึง “กีฬา” ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่มีบทบาทสำคัญที่ใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ ดังวลีที่มักจะได้ยินอยู่เสมอว่า “กีฬาสร้างคน คนสร้างชาติ” โดยคนที่สมบูรณ์นั้น จะต้องปรากฏศักยภาพของความเป็นคนที่เก่งและดีทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ จึงเป็นเหตุทำให้สังคมเกิดความตื่นตัวที่พยายามจะใช้กีฬาในการสร้างสุขให้กับสังคมของตนเอง ทั้งนี้ “สังคมครอบครัว” ถือว่าเป็นรากฐานของการเรียนรู้ และปลูกฝังจิตสำนึก คุณธรรม จริยธรรม แต่บางครั้งเป้าหมายในการใช้กีฬาเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ในความคาดหวังของครอบครัวนั้น อาจจะไม่ใช่เจตนารมณ์ที่แท้จริงในคุณค่าของกีฬา กล่าวคือ การรู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย การเล่นอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม การเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน การเกิดมิตรภาพ และความยอดเยี่ยมในการแสดงความสามารถได้อย่างเต็มศักยภาพของตนเอง รวมถึงความภูมิใจในการมีส่วนร่วมในเกมการแข่งขันกีฬา ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นหัวใจสำคัญที่ครอบครัวควรจะให้ความสำคัญ เพราะถ้านักกีฬามีทัศนะคติต่อกีฬาเพื่อแสวงหาซึ่งชัยชนะเป็นที่ตั้งแล้วนั้น จะส่งผลต่อพฤติกรรมและการแสดงความสามารถที่ไม่พึงปรารถนาได้ ดังนั้น บทบาทความเป็นผู้นำของครอบครัวที่มีต่อบริบททางการกีฬามีความสำคัญมาก ที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ควรละเลย ดังจะเห็นได้จากกรณีศึกษาในภาพยนตร์เรื่องนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองพยายามกดดันโค้ชคาร์เตอร์ให้ลาออก เนื่องจากไม่พึงพอใจในวิธีการโค้ชให้กับลูกหลานของตนเอง ซึ่งไม่ได้มองถึงคุณค่าของกีฬาที่โค้ชคาร์เตอร์พยายามปลูกฝังให้ดังกล่าว

ความเป็นผู้นำทางการกีฬาเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับกีฬาทุกประเภท ซึ่งผู้นำในสถานการณ์กีฬาไม่ว่าจะเป็นผู้ฝึกสอนกับนักกีฬาหรือนักกีฬากับนักกีฬาเองก็ตาม การเป็นผู้นำทางการกีฬาที่ดีจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความเชื่อถือในคุณค่าของกีฬา มีบุคลิกภาพที่ดี มีปรัชญาเป็นของตนเอง มีเป้าหมายที่ชัดเจน อุทิตตนเอง กระตือรือร้น และมีความคิดริเริ่ม สามารถสร้างวินัยให้เกิดขึ้นภายในทีม ไม่เห็นแก่ตัว มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความรอบรู้ และสามารถถ่ายทอดความรู้ของตนให้กับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม สอดคล้องกับ 2สุพิตร (2535) กล่าวว่า ผู้ฝึกสอนที่ไม่มีปรัชญาในการฝึกจะทำให้ขาดแนวทางในการปฏิบัติเพื่อไปสู่จุดหมายปลายทาง ดังนั้น เพื่อการฝึกกีฬาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ฝึกสอนจำเป็นต้องทราบว่าขณะนี้ตนเองกำลังทำอะไร ทำเพื่ออะไร ทำกับใคร และทำอย่างไร ปรัชญาเป็นความเชื่อหรือหลักการที่จะเป็นแนวทางสู่การปฏิบัติ ในแง่ของการกีฬานั้น ปรัชญาของชีวิตจะเป็นพื้นฐานของการฝึกกีฬา และจะเป็นปรัชญาของการฝึกกีฬาเฉพาะอย่าง หรือเป็นเทคนิคและกุศโลบายที่ผู้ฝึกสอนจะนำมาใช้ในการฝึกกีฬาต่อไป ด้วยเหตุและผลดังกล่าว สามารถเชื่อมโยงกับความสุนทรียภาพที่สะท้อนออกมาเป็นเรื่องราวจากภาพยนตร์ เรื่อง “โค้ชคาร์เตอร์” ซึ่งมีเนื้อหาที่ควรค่าแก่การศึกษา และสามารถนำไปประยุกต์ใช้สำหรับการพัฒนาความเป็นผู้นำทางการกีฬาต่อไป


ผู้นำทางการกีฬาคือส่วนสำคัญที่ช่วยพัฒนาคุณภาพกีฬาให้มีคุณค่าอย่างยั่งยืน

เอกสารอ้างอิง
1สืบสาย บุญวีรบุตร (2541) จิตวิทยาการกีฬา. ชลบุรีการพิมพ์, ชลบุรี.
2สุพิตร สมาหิโต (2535) จิตวิทยาการกีฬา แนวคิด ทฤษฎี สู่การปฏิบัติสำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร. หน้า 205

รวบรวมเเละเรียบเรียงโดย

สุริยัน สมพงษ์
25 สิงหาคม 2555



จริยธรรมทางการกีฬา (Ethics in Sports)


บทคัดย่อ

จากบทความ เรื่อง “จริยธรรมทางการกีฬาฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายถึงความสำคัญของจริยธรรมทางการกีฬาที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยใช้กีฬาเป็นสื่อในการที่จะเชื่อมโยงข้อมูลไปสู่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง “กีฬา” จะเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคมและปลูกฝังความมีน้ำใจนักกีฬา (sportsmanship) ให้เป็นค่านิยมและเป็นวัฒนธรรมที่จะสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นต่อไป และกีฬายังเป็นกระบวนการพัฒนาคนให้เป็นคนโดยสมบูรณ์ การมีน้ำใจนักกีฬาเป็นเรื่องที่พูดกันมากและพูดกันมานานแล้วว่า การเข้าร่วมกิจกรรมกีฬา ควรจะมีการเริ่มสร้างและพัฒนาโดยให้สอดแทรกความเป็นนักกีฬาและความมีน้ำใจนักกีฬา โดยให้เป็นวัตถุประสงค์หลักของการกีฬา ในการใช้กีฬาสร้างคนให้เป็นคนดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งสิ่งที่ตามมาก็คือ ความคิดกับการกระทำสัมพันธ์กันหรือไม่ เพราะอาจจะคิดดี แต่ไม่ได้ทำ หรือทำไม่ได้ หรือทำแต่ผิด รวมทั้งที่ไม่ได้คิดแต่กระทำโดยไม่รู้ตัว หรือไม่ทราบว่าสิ่งที่ทำเป็นพฤติกรรมจริยธรรมการกีฬา หรือทั้งคิดและทำ หรือไม่ได้คิดและไม่ได้ทำ เหล่านี้เป็นสิ่งแรกที่ควรนำมาพิจารณาประกอบการตั้งจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการสร้างและพัฒนาจริยธรรม

ดังนั้น จึงพอสรุปได้ว่า ความมีน้ำใจนักกีฬา หรือการเล่นอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม (fair play) ในการกีฬา จึงเป็นทั้งปัญหาที่หาข้อสรุปหรือระบุให้แน่ชัดและเด็ดขาดไม่ได้ หากจุดมุ่งหมายในการแข่งขันกีฬานั้น ยังเน้นเรื่องของความเป็นเลิศมากเกินไป จุดมุ่งหมายหลักในการเล่นและการแข่งขันกีฬาของคนนั้น หรือทีมนั้น การกำหนดวิธีการและการกระทำ ความมีน้ำใจนักกีฬา หรือจริยธรรมการกีฬา ข้อกำหนดวิธีการ และการกระทำในการเข้าร่วมเพื่อความเป็นเลิศ หรือมุ่งที่ชัยชนะไม่เป็นเรื่องแปลก แต่หากมากเกินไปจนลืมนึกถึงจุดประสงค์ที่แท้จริงของการกีฬาคือการพัฒนาคนโดยสมบูรณ์ ก็ถือว่าการกีฬาประสบความล้มเหลว ไม่เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่แท้จริง แม้ว่าข้อกำหนด และวิธีการกระทำจริยธรรมของแต่ละคน แต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกัน แต่อย่างไรแนวทาง วิธีการและพฤติกรรมอย่างกลางๆ ควรได้รับการระบุไว้อย่างชัดเจน รวมทั้งการจัดประสบการณ์ที่สร้างเสริมข้อกำหนดเหล่านั้น พร้อมกับการให้ความสำคัญ และอย่าเข้าใจผิดว่า จริยธรรมเกิดขึ้นได้เองโดยอัตโนมัติหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬา ซึ่งแนวคิดที่เรียกว่าจิตสำนึก เหตุผลทางจริยธรรมทางการกีฬา และพฤติกรรมความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ควรมีการสร้างและปลูกฝังให้กับนักกีฬาทุกคน นอกจากนี้ ทุกคนควรมีโอกาสที่จะกระทำ หรือมีประสบการณ์ในการกระทำ หรือประพฤติจนเป็นอัตโนมัติ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วเท่ากับว่า กีฬาจะสร้างคนให้เป็นคนดีอย่างสมบูรณ์ ทั้งทางด้านร่างกาย ความคิด จิตใจ และสติปัญญาที่ดี โดยรวมเป็นความมีน้ำใจนักกีฬาที่เรียกว่า จริยธรรมทางการกีฬา (ethics in sports)

คำสำคัญ: จริยธรรมทางการกีฬา, ความมีน้ำใจนักกีฬา, การเล่นอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม

บทนำ

“...การกีฬานั้นเป็นอุปกรณ์การศึกษาที่สำคัญยิ่ง เพราะเป็นการกล่อมเกลาให้เด็กมีจิตใจอดทน กล้าหาญ รู้แพ้ รู้ชนะ ปลูกฝังพลานามัยให้แข็งแรง เป็นปัจจัยส่งเสริมให้เด็กเป็นผู้มีสมรรถภาพทั้งในทางจิตใจและร่างกาย เป็นผลสืบเนื่องไปถึงการเป็นพลเมืองของชาติ อันเป็นยอดแห่งความปรารถนา... 

ความตอนหนึ่งจากพระบรมราโชวาทของสมเด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสวันเปิดงานกรีฑานักเรียน ประจำปี พ.ศ.2504 1(การกีฬาแห่งประเทศไทย2549) ซึ่งสามารถน้อมนำหลักปรัชญาที่แฝงด้วยคุณค่าจากวลีข้างต้น โดยนำมาเป็นแนวทางในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า กีฬาที่ใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม และปลูกฝังความมีน้ำใจนักกีฬา (sportsmanship) ให้เป็นค่านิยมและเป็นวัฒนธรรมที่จะสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นต่อไป ซึ่งกีฬายังเป็นกระบวนการพัฒนาคนให้เป็นคนโดยสมบูรณ์ สอดคล้องกับ 2แผนพัฒนากีฬา​แห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2555-2559) ​ที่มีกรอบ​และทิศทาง​ใน​การบูรณา​การ​การ​ทำงานระหว่างหน่วยงาน​และภาคส่วนที่​เกี่ยวข้อง​ใน​การพัฒนา​การกีฬาของประ​เทศ​ เพื่อให้บรรลุ​เป้าหมายตามน​โยบายของรัฐบาล ตลอดจนเพื่อ​ใช้​เป็น​แนวทาง​ใน​การวาง​แผนปฏิบัติราช​การให้​เกิด​ความต่อ​เนื่อง​ใน​การพัฒนา​การกีฬาของประ​เทศ ซึ่งมีเป้าหมายหลักข้อแรกกล่าวไว้ว่า

“…เด็ก​และ​เยาวชน​ทั้ง​ในระบบ​โรง​เรียน​และนอกระบบ​โรง​เรียน อย่างน้อยร้อยละ 80 มี​ความรู้ความ​เข้า​ใจ มี​เจตคติ และทักษะ​ใน​การออกกำลังกาย​และ​การกีฬาขั้นพื้นฐาน มีคุณธรรม จริยธรรม มีระ​เบียบวินัย​ และน้ำ​ใจนักกีฬาตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ รวม​ทั้ง สามารถออกกำลังกาย​และ​เล่นกีฬา ชม​และ​เชียร์กีฬาตามระเบียบ ​และกฎ กติกา...

ซึ่งจะเห็นได้ว่า จริยธรรมในการเล่นกีฬา” จะสามารถทำให้ผู้เล่นกีฬามีคุณธรรม และรู้คุณค่าของกีฬา ดังต่อไปนี้ คือ ทำให้เกิดความมีระเบียบวินัย เช่นการเคารพระเบียบ กฎกติกาการแข่งขัน มีวินัยในตนเอง ทำให้มีความสามัคคี ความร่วมมือและความเสียสละ มีน้ำใจนักกีฬา ทำให้นักกีฬารู้จักตนเอง และรู้จักหน้าที่ของตนเอง ทำให้นักกีฬามีความรับผิดชอบ ซึ่งการมีน้ำใจนักกีฬา เป็นเรื่องที่พูดกันมากและพูดกันมานานแล้วว่า การเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาควรจะมีการเริ่มสร้างและพัฒนาโดยให้สอดแทรกความเป็นนักกีฬาและความมีน้ำใจนักกีฬา โดยให้เป็นวัตถุประสงค์หลักของการกีฬาในการใช้กีฬาสร้างคนให้เป็นคนดี ทั้งทางร่างกายและจิตใจ สิ่งที่ตามมาก็คือ ความคิดกับการกระทำสัมพันธ์กันหรือไม่ เพราะอาจจะคิดดีแต่ไม่ได้ทำหรือทำไม่ได้ หรือทำแต่ผิด รวมทั้งที่ไม่ได้คิดแต่กระทำโดยไม่รู้ตัว หรือไม่ทราบว่านี่เป็นพฤติกรรมจริยธรรมการกีฬาหรือทั้งคิดและทำ หรือไม่ได้คิดและไม่ได้ทำ เหล่านี้เป็นสิ่งแรกที่ควรนำมาพิจารณาประกอบการตั้งจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการสร้างและพัฒนาจริยธรรม หากต้องกำหนดให้แน่ชัดว่า ความเป็นนักกีฬาคืออะไร คำตอบที่ได้อาจจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับเราถามใคร นักกีฬาชาติ หรือนักกีฬาหัดใหม่ เพศอะไร ระดับการแข่งใด ระดับชาติที่แข่งขันเพื่อความเป็นเลิศ หรือเพียงการแข่งขันเพื่อสันทนาการ รวมทั้งปรัชญา มาตรฐาน ค่านิยมของสังคมกีฬานั้นๆ ดังนั้นการกำหนดขอบเขตคำอธิบายโดยรวมและจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม ที่มีความเป็นกลางที่สุดที่จะให้นักกีฬาได้รับการพัฒนาความเป็น คน และพัฒนา จริยธรรม

จริยธรรมทางการกีฬา (Ethics in Sports)
เมื่อกล่าวถึงคำว่า จริยธรรมมักจะพิจารณาอยู่ในกรอบคิดเกี่ยวกับศาสนา เพราะว่า คำสอนทางศาสนามีส่วนสร้างระบบจริยธรรมให้สังคม ดังคำกล่าวของ 3ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช (2528) ที่ว่า

“…จริยธรรมของสังคมไทยขึ้นอยู่กับระบบศีลธรรมของพุทธศาสนา ว่ากำหนดหลักในการปฏิบัติในชีวิตประจำไว้อย่างไร หลักจริยธรรมก็จะกำหนดให้ปฏิบัติตามนั้น...

ทั้งนี้ 4พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้คำนิยามของคำว่า จริยธรรมคือธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม และเมื่อพิจารณาตามรูปคำดังกล่าว จริยธรรมนั้นมาจากคำว่า จริยะ กับ ธรรมะ โดยคำว่า จริยะ หมายถึง ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ ส่วน ธรรมะ หมายถึง คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ กฎหมาย

หลักสำคัญเกี่ยวกับการสร้างและพัฒนาจริยธรรมการกีฬา ข้อควรระวัง 3 ประการ ในการสร้างและพัฒนาจริยธรรมทางการกีฬา คือ
1.จริยธรรมไม่ได้เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติหลังจากการได้เข้าร่วมกิจกรรมกีฬา
2.การมุ่งเพื่อชัยชนะมากเกินไปจะเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้นักกีฬาหลงทาง ขัดแย้งระหว่างจุดมุ่งหมายสูงสุดในการเข้าร่วม และแข่งขันกีฬา
3.การลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ทางการกีฬาให้ได้นั้น ต้องมีข้อกำหนด กฎระเบียบ ให้ดียิ่งขึ้น เช่น กฎ กติกา และบทลงโทษ สำหรับนักกีฬาที่กระทำผิด เป็นต้น รวมทั้งการปลูกฝังความคิดที่ถูกต้อง ความมีคุณธรรม เพื่อที่จะให้เหตุผลกับตนเองให้ได้ว่าการกระทำใดถูก-ผิด พึงประสงค์หรือไม่พึงประสงค์ สิ่งเหล่านี้มีรายละเอียดและคำอธิบายประกอบ ดังนี้
3.1.ความมีน้ำใจนักกีฬาไม่ได้เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติหลังจากการได้เข้าร่วม กิจกรรมกีฬาความมีน้ำใจนักกีฬาและการพัฒนาในด้านจิตใจ ควรได้รับการส่งเสริมในขณะเข้าร่วม โดยพยายามระบุเป็นเชิงพฤติกรรมมากกว่าการให้คิดเองหรือเกิดเองตามลักษณะของนักกีฬา ทั้งเพศ วัย จุดมุ่งหมายหรือแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาหรือเป้าหมายขององค์กรกีฬานั้นๆ รวมถึงวัฒนธรรมการกีฬาของแต่ละกีฬาย่อมให้คำจำกัดความเชิงพฤติกรรมของจริยธรรมต่างกัน ซึ่งหากไม่มีการบ่งชี้อย่างชัดเจน ย่อมทำให้เกิดพฤติกรรมตอบสนองต่อความคิดนั้นๆแตกต่างกัน จริยธรรมเป็นพฤติกรรมที่ได้รับการหล่อหลอมมาจากความเชื่อของสังคมและมาตรฐานของสังคมนั้นๆ จริยธรรมเกิดได้จากการเห็นตัวอย่าง การได้เห็นและการพยายามทำตาม ตลอดจนการได้แรงเสริมจากการกระทำนั้นๆว่าเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์หรือไม่พึงประสงค์ในสังคมนั้น เช่น หากการโกงอายุเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและจากการเห็นตัวอย่างว่าทีมใดทีมหนึ่ง โกงอายุ แล้วทำให้ทีมนั้นชนะอาจเป็นสาเหตุให้เขาเอาแบบอย่างบ้าง หากทำไปเรื่อยๆ กรรมการจับไม่ได้ว่ามีการโกงอายุ และยังทำให้ทีมชนะย่อมทำให้ทีอื่นอยากทำบ้าง แต่ในทางตรงข้าม หากกรรมการจับได้ และมีการลงโทษ รวมทั้งหากโค้ชไม่ยินยอมเป็นพฤติกรรมที่ยอมรับได้ ก็จะทำให้นักกีฬาอื่นกลัวที่จะโกงอายุ แม้ว่าจะทำให้ทีมชนะก็ตาม
 3.2 การมุ่งเน้นชัยชนะมากเกินไปทำให้การเห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ และลดคุณค่าของจริยธรรมทางการกีฬา ในปัจจุบันการสร้างคุณค่าความสำคัญของ ชัยชนะ กับการแข่งขันกีฬามากจนเกินไป ทำให้คุณค่าที่แท้จริงจากการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาลดลง การมุ่งมั่นเพื่อชัยชนะมากเกินไปจะทำให้ความคิดทางจริยธรรมการกีฬาต่ำกว่าจริยธรรมการดำเนินชีวิต นอกจากนี้ ยังเป็นเหตุการณ์เพิ่มอัตราเสี่ยงการบาดเจ็บทางการกีฬามากขึ้นด้วย 
นอกจากนี้ยังทำให้เกิดคำกล่าวที่ว่า คนดีอยู่นอกสนาม คนไม่ดีเท่านั้นจึงอยู่ในสนามได้ ซึ่งทั้งนี้ก็เป็นผลมาจากมุ่งมั่นที่จะชนะมากเกินไป จึงทำให้เกิดความเห็นแก่ตัว (egocentric) ความต้องการที่จะเอาชนะ การใช้วิธีการที่อาจไม่ถูกต้องเหมาะสมต่างๆ เพื่อให้ได้เป็นผู้ชนะ เช่นการใช้สารกระตุ้น หรือกลโกงต่างๆเพื่อให้ได้เปรียบคู่ต่อสู้ ซึ่งแน่นอนที่สุดว่า ความเห็นแก่ตัวเป็นการทำให้ความมีน้ำใจนักกีฬาลดลงนั่นเอง คำพูดดังกล่าวข้างต้นดูราวกับว่าจะเป็นการกล่าวร้ายเกินไปและเป็นการที่มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการกีฬาหรือการแข่งขันกีฬา เพราะการแข่งขันกีฬาย่อมเป็นส่วนหนึ่งของการกีฬาที่ช่วยในการพัฒนาทั้งความสามารถทางการกีฬาและการพัฒนาความเป็นนักกีฬา เพียงแต่ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องระมัดระวังและให้ความสำคัญของการแข่งขันให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของการแข่งขันกีฬาที่แท้จริง มากกว่าการที่จะมุ่งเน้นที่การแพ้-ชนะมากเกินไป จนยอมที่จะกระทำการต่างๆเพื่อชัยชนะ ซึ่งจะทำให้คำกล่าวนั้นเป็นจริง และเท่ากับว่ากีฬาทำลายคนได้เช่นเดียวกับการสร้างคน หรือเท่ากับการสร้างคนไม่เต็มคน คือ ดีแต่ร่างกาย ไม่ได้ช่วยพัฒนาจิตใจเลย
3.3 การลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์โดยการเปลี่ยนองค์ประกอบภายนอกทางการกีฬา เช่นเดียวกับการสร้างแนวคิดภายในตัวนักกีฬาเอง สิ่งแรกที่ควรจะกำหนดหรือระบุว่าจริยธรรม ความมีน้ำใจนักกีฬาคืออะไร ให้เป็นเชิงพฤติกรรม ให้ทุกคนทราบแนวปฏิบัติ เช่น การสลับกันเล่น การเคารพกฎ การแสดงความยินดีกับทีมชนะ ให้กำลังใจทีมแพ้ การให้แรงเสริม และการให้ผลย้อนกลับ การกระทำที่ตอบสนองกับความมีน้ำใจเชิงพฤติกรรมที่ได้กำหนดไว้และลงโทษหากไม่ปฏิบัติตาม

นอกจากนี้การสร้างเสริมแนวคิดภายในตัวนักกีฬาเองต้องกระทำเช่นกัน โดยการชี้ให้เล่นหรืออธิบายถึงความเป็นไปในสนามและในชีวิตประจำวันว่าสอดคล้องกัน เปิดโอกาสให้มีการพูดคุยถึงข้อขัดแย้งต่างๆของเหตุการณ์ต่างๆทางการกีฬาว่าเป็นอย่างไร ทางออกที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร เช่น ในการเล่นบาสเกตบอล เราวิ่งชนฝ่ายตรงข้ามล้มโดยไม่เจตนา เราควรจะต้องจับมือเพื่อช่วยให้เขาลุกขึ้นหรือไม่ ซึ่งคำตอบก็คือ ถ้าหากว่าเราไม่อยู่ในสภาวะที่ต้องครอบครองบอลในขณะนั้น แม้ว่าหากปล่อยในเขาล้มอยู่ ทีมของเราจะส่งบอลได้เร็วขึ้นก็ตาม หรือทำไมจึงไม่โกงอายุมาก ประสบการณ์มาก ทำให้ได้เปรียบในการแข่งขันกีฬา เป็นต้น นอกจากนี้ ควรมีการนำตัวอย่างที่เกี่ยวข้องระหว่างจริยธรรมกับจุดมุ่งหมายในการแข่งขันให้นักกีฬาได้ถกเถียงกัน ดังตัวอย่าง นักกีฬาเรือใบของประเทศสหรัฐอเมริกา หยุดช่วยนักกีฬาสาธารณรัฐเกาหลี ทำให้เขาพลาดเหรียญทองไป ซึ่งจากการอภิปรายในทีมจะช่วยให้นักกีฬาเข้าใจหรือเรียนรู้เกี่ยวกับจริยธรรมดีขึ้น

ดังนั้น จึงพอสรุปได้ว่า ความมีน้ำใจนักกีฬาหรือการเล่นอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมในการกีฬา จึงเป็นทั้งปัญหาที่หาข้อสรุปหรือระบุให้แน่ชัดเด็ดขาดไม่ได้ หากจุดมุ่งหมายในการแข่งขันเพื่อประสงค์ความเป็นเลิศมากเกินไป จุดมุ่งหมายหลักในการเล่นและการแข่งขันกีฬาของคนนั้น หรือทีมนั้น การกำหนดวิธีการ และการกระทำ ความมีน้ำใจนักกีฬา หรือจริยธรรมทางการกีฬา ข้อกำหนดวิธีการ และการกระทำในการเข้าร่วมเพื่อความเป็นเลิศ หรือมุ่งที่ชัยชนะไม่ใช่เรื่องแปลก แต่หากมากเกินไปจนลืมนึกถึงจุดประสงค์ที่แท้จริงของการกีฬาคือการพัฒนาคนโดยสมบูรณ์ ก็ถือการกีฬาประสบความล้มเหลว ไม่เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่แท้จริง แม้ว่าลักษณะ ข้อกำหนด และวิธีการกระทำจริยธรรมของแต่ละคน แต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกัน แต่อย่างไร แนวทาง วิธีการและพฤติกรรมอย่างกลางๆ ควรได้รับการระบุไว้อย่างเด่นชัด รวมทั้งการจัดประสบการณ์ที่สร้างเสริมข้อกำหนดเหล่านั้น พร้อมกับการให้ความสำคัญ อย่าเข้าใจผิดว่าจริยธรรมเกิดได้เองโดยอัตโนมัติหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาแล้ว แนวคิดที่เรียกว่า จิตสำนึกเหตุผลทางจริยธรรมทางการกีฬา และพฤติกรรมความมีน้ำใจนักกีฬา ควรมีการสร้างและปลูกฝังให้กับนักกีฬาทุกคน นอกจากนี้ ทุกคนควรมีโอกาสที่จะกระทำหรือมีประสบการณ์ในการกระทำหรือประพฤติจนเป็นอัตโนมัติ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เท่ากับว่า กีฬาจะสร้างคนให้เป็นคนดีอย่างสมบูรณ์ คือ ดีทั้งร่างกาย ความคิด จิตใจ และสติปัญญาที่รวมเป็นความมีน้ำใจนักกีฬาที่เรียกว่า “จริยธรรมทางการกีฬาสอดคล้องกับ 5สุพิตร สมาหิโต (2555) อธิบายว่า 

“...น้ำใจนักกีฬาในบริบทของกีฬานั้น เป็นการเล่นกีฬาด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม เที่ยงธรรม มีศักดิ์ศรี  ให้เกียรติซึ่งกันและกัน และเล่นอย่างมิตรภาพ น้ำใจนักกีฬาเป็นเครื่องมือสำคัญในการก่อให้เกิดการเรียนรู้ในการปฏิบัติตน ในการจัดการระบบของเวลา การมีวินัยในตนเอง การเล่นอย่างขาวสะอาด มานะอดทนพยายามด้วยความชื่นบาน และเล่นอย่างมีศักดิ์ศรี หากจะมีคำถามว่า เรามีความเชื่อหรือไม่ว่าน้ำใจนักกีฬา เป็นเวทีของการพัฒนาชีวิต เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่าอย่างยั่งยืน เชื่อแน่ว่าทุกคนคงไม่ปฏิเสธ เพราะทุกคนเข้าใจดีว่า น้ำใจนักกีฬาเป็นวิถีแห่งชีวิต และช่วยส่งเสริมให้ชีวิตมีคุณค่าในทุกๆบริบท น้ำใจนักกีฬาสอนให้คนรู้จักเคารพเชื่อฟัง และปฏิบัติตามกฎ กติกา ยอมรับในการเป็นผู้ชนะ ขณะเดียวกันก็ไม่ปฏิเสธในการเป็นผู้แพ้ น้ำใจนักกีฬาสอนคนให้มีทักษะทางด้านสังคม สอนให้รู้จักการทำงานเป็นทีม เพราะทักษะของการทำงานเป็นทีม ทำให้ทุกคนเข้าใจในบทบาทของตนเอง ทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม การทำงานเป็นทีมเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ที่ช่วยทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่ม สร้างความมั่นใจให้กับผู้นำและผลที่จะได้ตามมาก็คือ ทำให้เกิดความสามัคคี ปรองดอง และเกิดสันติสุขตั้งแต่กลุ่มรากหญ้าไปจนถึงกลุ่มต่างๆในระดับชาติต่อไป…”

หากกีฬาจะเป็นสื่อสำคัญในการนำไปสู่การสร้างความมีน้ำใจนักกีฬาของคนในชาติ ประเด็นของข้อคำถามที่น่าสนใจก็คือ จะใช้กีฬาเป็นกิจกรรมที่ผสมผสานเข้าไปในการศึกษาทั้งหมดได้หรือไม่ แน่นอน คำตอบที่ได้รับก็คือเป็นไปได้ และควรจะเป็นเช่นนั้น เพราะกีฬาเป็นสะพานเชื่อมโยงทำให้เกิดน้ำใจนักกีฬา และน้ำใจนักกีฬา ก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นคุณค่าของการดำรงชีวิตที่เกิดขึ้นได้ในสถาบันการศึกษา ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทุกประเทศทั่วโลกจึงได้ยอมรับที่จะให้กีฬามีบทบาทสำคัญในสังคม ในการที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชาติ แก้ปัญหาของชาติ และช่วยกันขับเคลื่อนให้ประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไป จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องให้ความสนใจ เอาใจใส่ เอาจริงเอาจังกับการนำเอาองค์รวมของกีฬามาเป็นพื้นฐานในการวางแผนงานต่างๆ และจะต้องทำอย่างต่อเนื่องตลอดไป จึงจะทำให้เกิดผลอย่างยั่งยืน นักกีฬาผู้มีชื่อเสียงก็จะต้องเป็นตัวอย่างที่ดี สถานศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จะต้องให้ความรู้ จะต้องมุ่งเน้นให้นักเรียนเข้าใจอย่างลึกซึ้งกับคำว่า น้ำใจนักกีฬา มากกว่าที่จะมุ่งให้ความสำคัญกับจำนวนเหรียญที่ได้จากการแข่งขัน หากทุกคนในชาติเป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬา พวกเขาก็จะสามารถสร้างชาติให้มีความมั่นคงถาวร ทุกคนจะมีชีวิตอย่างสันติสุข

สรุปท้ายบท
จริยธรรมทางการกีฬานั้น มีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งในด้านสุขภาพ พลานามัย และด้านจิตใจ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้ประชาชนสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม นำไปสู่การมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ กีฬาถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว และชุมชน ในประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลก จะอาศัยกระบวนการของกีฬา เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม เพื่อสร้างเครือข่ายชุมชน ตลอดจนการสร้างจิตสำนึกในการดำรงชีวิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ เคารพในสิทธิของตนเองและผู้อื่นเป็นรากฐานที่ดีของสังคม องค์กรของประเทศต่างๆทั่วโลก รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศจึงได้สนับสนุนให้มีการใช้กีฬา การออกกำลังกาย และนันทนาการ เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชากรของประเทศตน

จากบทสรุปข้างต้น กีฬาจะคงอยู่คู่มวลมนุษยชาติตราบชั่วลูกชั่วหลานได้นั้น จำเป็นจะต้องอยู่ในกรอบของคำว่า จริยธรรม” ฉะนั้น ความมุ่งใส่ใจในคุณค่าของ “จริยธรรมทางการกีฬา” จึงเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะพัฒนานักกีฬาควบคู่กับการพัฒนาความสามารถทางด้านกีฬา โดยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางการกีฬา จึงควรที่จะมองให้รอบด้านอย่างลุ่มลึกเพื่อกีฬาจะได้คงอยู่คู่กับการเคลื่อนตัวของโลกสืบต่อไป

เอกสารอ้างอิง
1การกีฬาแห่งประเทศไทย (2549). หนังสือพระมหากษัตริย์นักกีฬา. การกีฬาแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ.
2แผนพัฒนากีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2555-2559). กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. กรุงเทพฯ.
3ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช (2528). พระพุทธศาสนากับคึกฤทธิ์. เดอะบุ๊ค เลิฟเวอร์ กรุงเทพฯ. 
4พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
5สุพิตร สมาหิโต (2555). วารสารวันโอลิมปิก 2012 (Olympic Day 2012). คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, กรุงเทพฯ.

รวบรวมเเละเรียบเรียงโดย

สุริยัน สมพงษ์
4 ตุลาคม 2555



สุนทรียะโตเกียวเกมส์ (ตอนที่ 1) #สาระน่ารู้พิธีเปิดโตเกียวเกมส์

สุนทรียะโตเกียวเกมส์ ตอนที่ 1 สาระน่ารู้พิธีเปิดโอลิมปิกเกมส์ 2020 1.ผู้เเทนนักกีฬาถือธงชาตินำขบวนพาเหรดของเเต่ละ NOC ประกอบด้วย ผู้หญิง 1 ค...