วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2565

สุนทรียะโตเกียวเกมส์ (ตอนที่ 1) #สาระน่ารู้พิธีเปิดโตเกียวเกมส์

สุนทรียะโตเกียวเกมส์ ตอนที่ 1 สาระน่ารู้พิธีเปิดโอลิมปิกเกมส์ 2020

1.ผู้เเทนนักกีฬาถือธงชาตินำขบวนพาเหรดของเเต่ละ NOC ประกอบด้วย ผู้หญิง 1 คน เเละผู้ชาย 1 คน รวม 2 คน

2.การเรียงลำดับ NOCs ในการเดินพาเหรดเข้าสู่สนามโอลิมปิกได้เรียงลำดับตามอักษรญี่ปุ่น

3.NOC เเรกที่เดินพาเหรดเข้าสู่สนามโอลิมปิก คือ คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติกรีซ (NOC Greece) ประเทศต้นกำเนิดโอลิมปิกเกมส์ 

4.ลำดับที่สองที่เดินพาเหรดเข้าสู่สนามโอลิมปิก คือ ทีมนักกีฬาผู้ลี้ภัยโอลิมปิก (Refugee Olympic Team)

5.NOC ประเทศไทยเดินพาเหรดเข้าสู่สนามโอลิมปิกเป็นลำดับที่ 103

6.NOCs 3 ชาติสุดท้ายที่เดินพาเหรดเข้าสู่สนามโอลิมปิก ลำดับที่ 203 คือ สหรัฐอเมริกา (เจ้าภาพ ลอสเเอนเจลีส โอลิมปิกเกมส์ ค.ศ.2028) ลำดับที่ 204 คือ ฝรั่งเศส (เจ้าภาพ ปารีส โอลิมปิกเกมส์ ค.ศ.2024) และลำดับสุดท้าย ลำดับที่ 205 ญี่ปุ่น (เจ้าภาพ โตเกียว โอลิมปิกเกมส์ 2020)

7.NOC เกาหลีเหนือถอนทีมไม่เข้าร่วมโตเกียว โอลิมปิกเกมส์ในครั้งนี้

8.คติพจน์ โตเกียว โอลิมปิกเกมส์ 2020 คือ United by Emotion หรือ รวมกันเป็นหนึ่งเดียว

9.ผู้กล่าวคำปฎิญาณโอลิมปิก ประกอบด้วย นักกีฬา 2 คน ผู้ตัดสิน 2 คน เเละผู้ฝึกสอน 2 คน (ชาย 3 หญิง 3 รวมทั้งหมด 6 คน) คำปฏิญาณโอลิมปิกถูกกล่าวขึ้นครั้งแรกในพิธีเปิดโอลิมปิกเกมส์ ณ เมืองแอนต์เวิร์ป ประเทศเบลเยี่ยม ค.ศ.1920 เขียนขึ้นโดยท่านบารอน ปิแอร์ เดอ คูเบอร์เเตง บิดาโอลิมปิกเกมส์สมัยใหม่

10.อาสาสมัคร โตเกียว โอลิมปิกเกมส์ กว่า 70,000 คน ที่เป็นทีมสนับสนุนอย่างเข้มเเข็งในทุกๆภารกิจตลอดช่วงการเเข่งขัน

11.ผู้เเทนเชิญธงโอลิมปิก ประกอบด้วย นักกีฬาจาก NOCs ทั้ง 5 ทวีป เเละนักกีฬาผู้ลี้ภัยโอลิมปิก รวม 6 คน เเละส่งต่อให้กับผู้เเทนประชาชนชาวญี่ปุ่นหลากหลายอาชีพ รวม 6 คน

12.ผู้เเทนวิ่งคบเพลิงโอลิมปิก ประกอบด้วย อดีตนักกีฬาทีมชาติญี่ปุ่น เเพทย์ พยาบาล นักกีฬาพาราลิมปิกเกมส์ เด็กนักเรียน เเละนักกีฬาเทนนิสหญิง (นาโอมิ โอซากะ) เป็นผู้จุดไฟในกระถางคบเพลิง


#StrongerTogether #Olympics

สุริยัน สมพงษ์

23 กค 2564

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

วันโอลิมปิก (Olympic Day)



วันโอลิมปิก เป็นการเฉลิมฉลองวันคล้ายวันก่อตั้งคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ.1894 และได้ถือกำเนิดยุทธศาสตร์โอลิมปิกขึ้นนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สำหรับผู้ที่ริเริ่มก่อตั้งคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติคือท่านบารอน ปิแอร์ เดอ คูเบอแตงค์ ต่อมาท่านได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาของโอลิมปิกเกมส์สมัยใหม่ ดังนั้น วันที่ 23 มิถุนายนของทุกปี คณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติ และคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ จำนวน 206 ชาติทั่วโลก จึงได้จัดงานมหกรรมการเฉลิมฉลองวันโอลิมปิกขึ้น เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของผู้ที่มีจิตวิญญาณโอลิมปิกที่ได้ทิ้งมรดกโอลิมปิกอันมีคุณค่ามหาศาลไว้ให้เด็กและเยาวชนรุ่นหลังได้เรียนรู้และสืบทอดอุดมการณ์โอลิมปิกตราบนานเท่านาน

วิวัฒนาการของกิจกรรมวันโอลิมปิกได้พัฒนาต่อเนื่องมาเป็นลำดับดังนี้ ปฐมบทกิจกรรมวันโอลิมปิกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ.1894 ซึ่งเป็นวันถือกำเนิดคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติ และเป็นจุดเริ่มต้นของยุทธศาสตร์โอลิมปิก โดยมีสมาชิกร่วมการก่อตั้งทั้งสิ้น 12 ชาติ พร้อมลงคะแนนเสียงรับแนวความคิดของคูเบอแตงค์ในการรื้อฟื้นการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์สมัยใหม่ขึ้นเป็นครั้งแรก ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ
23 มิถุนายน ค.ศ.1948 ได้มีการจัดงานวันโอลิมปิกโลก (World Olympic Day) ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ 9 ชาติ ประกอบด้วย ออสเตรีย เบลเยี่ยม กรีซ แคนาดา อังกฤษ โปรตุเกส สวิตเซอร์แลนด์ อุรุกวัย และเวเนซุเอล่า ซึ่งทั้ง 9 ชาติดังกล่าวได้จัดงานเพื่อเฉลิมฉลองการก่อตั้งคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติเป็นครั้งแรก

ค.ศ.1978 ธรรมนูญโอลิมปิก (Olympic Charter) ได้มีการระบุบทบัญญัติที่ว่าด้วยการส่งเสริมให้สมาชิกของคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติ โดยเฉพาะคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติให้ดำเนินการจัดงานวันโอลิมปิกขึ้น เพื่อส่งเสริมยุทธศาสตร์โอลิมปิกและเป็นการเฉลิมฉลองการก่อตั้งคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติ

23 มิถุนายน ค.ศ.1978 คณะกรรมาธิการฝ่ายกีฬา คณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติ ได้นำแนวคิดการจัดงานเฉลิมฉลองวันโอลิมปิกเป็นการวิ่งวันโอลิมปิก (Olympic Day Run) โดยกำหนดระยะทางวิ่ง 10 กิโลเมตร และคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติใช้แนวคิดนี้จัดกิจกรรมวิ่งวันโอลิมปิก จำนวน 45 ชาติทั่วโลก

23 มิถุนายน ค.ศ.2008 ครบรอบ 60 ปี การจัดงานเฉลิมฉลองวันโอลิมปิก และเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนากิจกรรมการเฉลิมฉลองวันโอลิมปิกให้กว้างขวางมากขึ้น โดยจัดกิจกรรมวันโอลิมปิกบนพื้นฐานการส่งเสริมค่านิยมโอลิมปิกให้กับเด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วทุกมุมโลกได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมวันโอลิมปิก

มีนาคม ค.ศ. 2009 แนวคิดขยับกาย ขยายการเรียนรู้ สู่การค้นพบ (Move Learn Discover) เป็นแนวคิดที่ผสมผสานการเรียนรู้ค่านิยมโอลิมปิกกับบริบทกิจกรรมที่หลากหลายของแต่ละประเทศ โดยใช้วันโอลิมปิกเป็นสื่อให้กับเด็ก เยาวชน และประชาชนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมและซึมซับค่านิยมโอลิมปิกไปพร้อมๆกับการเฉลิมฉลองการก่อตั้งคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติ

วันโอลิมปิก เป็นโอกาสที่ยอดเยี่ยมสำหรับเด็ก เยาวชน และประชาชนที่จะได้เรียนรู้ค่านิยมโอลิมปิกผ่านกิจกรรมสาระการเรียนรู้โอลิมปิกศึกษาจากหลักปรัชญาสู่การลงมือปฏิบัติ ประกอบด้วยหลัก 3 ประการ คือ 

           1. การเชื่อมโยงกิจกรรมการเรียนรู้จากค่านิยมโอลิมปิก (เช่น ประวัติความเป็นมาของโอลิมปิกเกมส์ ความหมายของสัญลักษณ์โอลิมปิก คบเพลิงโอลิมปิก ไฟโอลิมปิก คติพจน์โอลิมปิก คำปฏิญาณโอลิมปิก เป็นต้น)

          2. การสร้างงานศิลปะจากกิจกรรมการเรียนรู้ค่านิยมโอลิมปิก (เช่น การวาดภาพ การระบายสี การประดิษฐ์สัญลักษณ์โอลิมปิก การร้องเพลง การถ่ายภาพ เป็นต้น)

          3. กิจกรรมการเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นหลักสำคัญของการเรียนรู้ค่านิยมโอลิมปิก (เช่น กิจกรรมทางกาย (physical activities) ทุกชนิดที่สอดแทรกการรับรู้ค่านิยมโอลิมปิก รวมถึงเกมการละเล่นและการแข่งขันกีฬา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และประสบการณ์จากหลักการและค่านิยมโอลิมปิก)

รวบรวมเเละเรียบเรียงโดย

ดร.สุริยัน สมพงษ์
สถาบันวิทยาการโอลิมปิคไทย
14 พฤษภาคม 2561

วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2561

Olympic Values Education Program (OVEP) หลักสูตรค่านิยมโอลิมปิกศึกษา

The future of our civilisation does not rest on political or economic foundations. It wholly depends on the direction given to education.” (Pierre de Coubertin)

เป้าหมายของยุทธศาสตร์โอลิมปิก (Olympic Movement) คือ “การใช้กีฬาเป็นเครื่องมือในการพัฒนามนุษย์อย่างมีดุลยภาพ พร้อมด้วยทัศนคติที่จะส่งเสริมสันติสุขของสังคมที่ตั้งอยู่บนศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์” โดยคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติมีพันธกิจสําคัญในการ “รณรงค์หลักพื้นฐานต่างๆและค่านิยมโอลิมปิกในประเทศนั้น โดยเฉพาะด้านกีฬากับการศึกษา โดยการประชาสัมพันธ์หลักสูตรโอลิมปิกศึกษาต่างๆในทุกระดับของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สถาบัน และมหาวิทยาลัยต่างๆด้านกีฬาและพลศึกษา” (Olympic Charter, 2017) โดยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่าการศึกษาและวัฒนธรรมคือหัวใจของยุทธศาสตร์โอลิมปิก



คณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติ (International Olympic Committee-IOC) พัฒนาหลักสูตรค่านิยมโอลิมปิกศึกษา (Olympic Values Education Program) ด้วยแนวคิด “การศึกษาผ่านกีฬา” (education through sport approach) ในการจัดการศึกษาบนพื้นฐานของค่านิยม (values-based education) ที่จะสร้างเสริมทักษะชีวิตต่างๆ โดยมีเป้าหมายที่จะปลูกฝังค่านิยมต่างๆของมนุษยชาติและการดึงดูดผู้เยาว์สู่กิจกรรมทางกายตั้งแต่อายุน้อยๆด้วย วัตถุประสงค์ของหลักสูตร คือ (ก) การบูรณาการออกกําลังกายกับค่านิยมศึกษา (ข) การใช้การศึกษากีฬาเพื่อสร้างชุมชน (ค) การเน้นยํ้าความสําคัญของการมีส่วนร่วมของพลเมือง และ (ง) การเร้าความรู้สึกของเยาวชนต่อประเด็นสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนามนุษย์ ภาวะผู้นําเยาวชน ความเท่าเทียมทางเพศ และอื่นๆ



หลักการสอนของหลักสูตรค่านิยมโอลิมปิกศึกษามี ๓ ประการคือ ประการแรก การเรียนรู้คือกิจกรรมที่ต้องลงมือปฏิบัติ ยิ่งผู้เรียนได้มีส่วนร่วมมากเท่าไร ผลสัมฤทธิ์และความสนุกสนานก็จะกลายเป็นประสบการณ์เรียนรู้มากขึ้นเท่านั้น ประการที่สอง การสนับสนุนการเรียนรู้มีหลากหลายวิธี กิจกรรมการเรียนรู้รวมหมายถึง การพูดและการฟัง การเล่น การเขียน การอภิปรายและถกเถียง กิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น ศิลปะ การละครและดนตรี ตลอดจนการเคลื่อนไหวร่างกายเช่น กีฬา การเต้นและพลศึกษา ประการสุดท้าย การเรียนรู้เป็นทั้งกิจกรรมเดี่ยวและกิจกรรมกลุ่ม แม้ว่าบางคนจะเรียนรู้ดีที่สุดด้วยตนเอง แต่ก็มีความจําเป็นที่จะต้องทํากิจกรรมร่วมกันเพื่อเรียนรู้และฝึกหัดความร่วมมือภายในกลุ่ม โดยสาระเรียนรู้ของหลักสูตรค่านิยมโอลิมปิกศึกษามี ๕ ประการกล่าวคือ (๑) ค่านิยมต่อความใฝ่พยายาม (Joy of effort) (๒) ค่านิยมต่อการเล่นอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม (Fair play) (๓) ค่านิยมต่อความเคารพให้เกียรติยกย่อง (Practicing respect) (๔) ค่านิยมต่อความมุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ (Pursuit of excellence) และ (๕) ค่านิยมต่อดุลยภาพของร่างกาย จิตใจ เเละสติปัญญา (Balanced between body, will and mind)

สื่อการเรียนรู้ของหลักสูตรค่านิยมโอลิมปิกศึกษาได้รับการพัฒนาและจัดเตรียมไว้อย่างพร้อมสรรพด้วยชุดปฏิบัติการและชุดแบบฝึกหัด (๓๔ กิจกรรม) พร้อมคู่มือการสอนและแหล่งค้นคว้าเพิ่มเติมสําหรับการสอนในชั้นเรียนด้วยรูปแบบหลากหลายที่สามารถปรับใช้ในกลุ่มสาระเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สุขศึกษา และพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ภาษาต่างประเทศ รวมทั้งกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทั้งในลักษณะกิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน และกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ โดยการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของหลักสูตรค่านิยมโอลิมปิกศึกษานั้น จะครอบคลุมทั้งการประเมินด้านความรู้ (knowledge) ด้านทักษะกระบวนการ (psychomotor) และด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม (attitude) ด้วยเกณฑ์การประเมินใบงาน เกณฑ์การให้คะแนนการปฏิบัติ และเกณฑ์การให้คะแนนการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน ตามลําดับ

รวบรวมและเรียบเรียงโดย
ดร.สุริยัน สมพงษ์
สถาบันวิทยาการโอลิมปิคไทย
28 มีนาคม 2561


วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559

Once in a memory - ครั้งหนึ่งในความทรงจำ

ดร.สุริยัน สมพงษ์
Suriyan SOMPHONG, Ph.D.
ที่อยู่ติดต่อ 226 ถนนศรีอยุธยา เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 
Address: 226 Sri Ayutthaya Rd. Dusit, Bangkok, THAILAND
E-Mail: ssomphong@yahoo.com

ประวัติการศึกษา :
I. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การกีฬา) สาขาการจัดการกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (.. 2555 - 2559)

II. Master of Science (Olympic Studies) University of Peloponnese & IOA., Greece. (.. 2556)

III. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การกีฬามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (.. 2551 - 2553)

IV. วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การกีฬามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (.. 2545 - 2548)

V. มัธยมศึกษาตอนปลาย (วิทย์ - คณิต) กีฬากรีฑา โรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี (.. 2542 - 2544)

VI. มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล จังหวัดสกลนคร (.. 2539 - 2541)

(Master of Science (Olympic Studies) University of Peloponnese & IOA, .. 2013)

(ปริญญาเอก สาขาการจัดการกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, .. 2559)


(มัธยมศึกษาตอนปลาย [.6/1] โรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี, .. 2544)

ประวัติการทำงาน :
พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน ผู้จัดการเเผนกวิชาการเเละฝึกอบรม (โอลิมปิก กีฬา เเละนันทนาการ) บริษัท คลับอะคาเดเมีย จำกัด (Club Academia Co., Ltd.)

.. 2552 - 2561 เจ้าหน้าที่สถาบันวิทยาการโอลิมปิคไทย คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ กรุงเทพฯ

.. 2551 - 2552 อาจารย์ประจำหมวดธุรกิจพยาบาล โรงเรียนพณิชยการสุโขทัย กรุงเทพฯ

.. 2550 - 2551 เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาการกีฬา มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด หัวหิน

.. 2549 - 2550 นักวิทยาศาสตร์การกีฬา ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี กรุงเทพฯ


(คณะกรรมการสถาบันวิทยาการโอลิมปิคไทยเข้ากราบขอพร พลตรี ดร.จารึก อารีราชการัณย์ รองประธานเเละเลขาธิการคณะกรรมการโอลิมปิคเเห่งประเทศไทยฯ เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ .. 2559)

(Dr.Isidoros Kouvelos, IOA, President and Prof.Dr.Dionyssis Gangas, IOA, Director)

ประวัติการทำงานในสมาคมวิชาการ
..2552 - ปัจจุบัน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ สถาบันวิทยากรโอลิมปิคไทย คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ

..2552 - ปัจจุบัน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ คณะกรรมาธิการฝ่ายสตรีกับกีฬา คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ


พ.ศ.2559 - ปัจจุบัน ผู้ช่วยเลขาธิการ สมาคมการจัดการเเห่งเอเชีย (Asian Association for Sport Management)


(หลักสูตร Advanced Sport Management Courses .. 2014)


(IOAMA V with IOC President, Dr.Thomas Buch, .. 2014)

ประวัติการฝึกอบรม / สัมมนาภายในประเทศ
8-9 สิงหาคม 2556 ประชุมวิชาการนานาชาติ SS-KU Sport Management and Sports Science Summit  โรงแรม เดอะ ทวิน ทาวเวอร์ ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร โดย โครงการภาคพิเศษ สาขาการจัดการกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มีนาคม - ธันวาคม 2554 อบรมหลักสูตร Advanced Sport Management Courses”  โรงแรม เดอะ ทวิน ทาวเวอร์ ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร โดยสถาบันวิทยาการโอลิมปิคไทย คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ


15 มกราคม 2554 กิจกรรมวิชาการ Olympic Movement: Olympic Culture and Education Activities”  โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 อำเภอด่านช้าง .สุพรรณบุรี โดย สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุพรรณบุรี ร่วมกับสถาบันวิทยาการโอลิมปิคไทย คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ


15-18 กรกฎาคม 2553 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ถอดรหัสโอลิมปิกศึกษา เพื่อพัฒนาเยาวชน  โรงแรมธรรมรินท์ธนา จังหวัดตรัง โดยสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตตรัง ร่วมกับสถาบันวิทยาการโอลิมปิคไทย


7-9 กรกฎาคม 2553 อบรมหลักสูตรผู้บริหารการกีฬา เรื่อง นวัตกรรม: การบริหารจัดการกีฬาไทย  โรงแรม เดอะ ทวิน ทาวเวอร์ ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร โดยสถาบันวิทยาการโอลิมปิคไทย คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ


26 มิถุนายน 2553 กิจกรรมวิชาการ Olympic Movement: Olympic Culture and Education Activities 2010 เนื่องในโอกาส (2010 Olympic Day)  อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยสถาบันวิทยาการโอลิมปิคไทย


1-3 ธันวาคม 2552 ประชุมวิชาการ “1st International Conference on Sports and Exercise Science”  โรงแรม เดอะ ทวิน ทาวเวอร์ ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร โดยคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


1 พฤษภาคม 2552 อบรม เพิ่มพูนความรู้ด้านการสร้างแบบสอบถาม สู่การพัฒนาโปรเจค วิทยากร ผศ.ดร.ภคพล อนุฤทธิ์ จัดโดยโรงเรียนพณิชยการสุโขทัย


28 เมษายน 2552 อบรมโครงการพัฒนาบุคลากร เรื่อง การสร้างข้อสอบเพื่อการวัดและประเมินผลผู้เรียน วิทยากร รศ.นวลเสน่ห์ วงศ์เชิดธรรม จัดโดยโรงเรียนพณิชยการสุโขทัย


27 เมษายน 2552 อบรมโครงการพัฒนาบุคลากร เรื่อง เทคนิคการให้คำปรึกษากับบทบาทการเป็นที่ปรึกษา วิทยากร นางสาวจิตติมา รักนาค จัดโดยโรงเรียนพณิชยการสุโขทัย


21 เมษายน 2552 อบรม การจัดการเรียนรู้ สำหรับครูมืออาชีพ (จิตวิทยาการสอนเทคนิคการสอน และเทคนิคการควบคุมชั้นเรียน)” วิทยากร ดร.กมล โพธิเย็น จัดโดยโรงเรียนพณิชยการสุโขทัย


(นำนักเรียนโรงเรียนพณิชยการสุโขทัย ศึกษาดูงาน โรงพยาบาล ตา หู คอ จมูก .. 2552)


(The 13rd National Olympic Academy Session for Young Sports Leaders  Wisma OCM .. 2553)


(Oral Presentation, Asian Association of Sport Management Conference  KL, Malaysia .. 2013)

ประวัติการฝึกอบรม / สัมมนาต่างประเทศ
6 - 13 มิ.. 2560 The 14th International Session for Directors of NOAs Seminar  เมืองโอลิมเปีย ประเทศกรีซ จัดโดย International Olympic Academy

20 - 22 ก.ค. 2560 Asian Association of Sport Management Conference  Yongpyong Resort, Korea จัดโดย Asian Association of Sport Management (AASM)


27 .. - 3 .. 2559  The 4th Youth Camp of Chinese Olympic Committee  เมืองกวางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน

15-29 มิ.. 2557 The 54th International Session for Young Participants Seminar  เมืองโอลิมเปีย ประเทศกรีซ จัดโดย International Olympic Academy (ได้รับเชิญเป็น Coordinator)

27 - 28 มิ.. 2556 Asian Association of Sport Management Conference  Berjaya Hotel, Kuala Lumpur, Malaysia จัดโดย Asian Association of Sport Management (AASM)

25 มิ.. - 9 .. 2554 The 51st International Session for Young Participants Seminar  เมืองโอลิมเปีย ประเทศกรีซ จัดโดย International Olympic Academy (ผู้เข้าร่วมการสัมมนา)

25 - 29 .. .. 2553 The 13rd National Olympic Academy Session for Young Sports Leaders  Wisma OCM  กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย จัดโดย National Olympic Academy of Malaysia


(The 4th Youth Camp of Chinese Olympic Committee, Guangzhou, China, 2016)


(The 51st International Session for Young Participants, Olympia, 2011)

ผลงานด้านการบริการกิจกรรมวิชาการ
I. คณะทำงานและเลขานุการการจัดทำ รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง กระบวนการในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (.. 2560 - 2564)” อนุกรรมาธิการการกีฬา ในคณะกรรมาธิการการศึกษาและกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (.. 2559)

II. นักวิจัย โครงการวิจัย เรื่อง การศึกษาขีดความสามารถของไทยในการเป็นศูนย์กลางการกีฬาของภูมิภาคอาเซียน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดย ดร.กภ.อำพร ศรียาภัย หัวหน้าคณะนักวิจัย (.. 2558)

III. นักวิจัย โครงการวิจัย เรื่อง การจัดทำแนวทางในการปฏิรูปการกีฬาของประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุพิตร สมาหิโต หัวหน้าคณะนักวิจัย (.. 2558)

IV. นักวิจัย โครงการวิจัย เรื่อง ทบทวนและประเมินผลแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (.2555 - 2559) ระยะครึ่งแผน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดย ดร.อิษฎี กุฎอินทร์ หัวหน้าคณะนักวิจัย (.. 2557)

V. นักวิจัย โครงการวิจัย เรื่อง ทบทวนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรทางการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศของชาติ (.2557 - 2559)” การกีฬาแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุพิตร สมาหิโต หัวหน้าคณะนักวิจัย (.. 2557)

VI. อาจารย์พิเศษ (วิชาสังคมวิทยาการกีฬาและโอลิมปิกศึกษา) คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (.. 2556 - ปัจจุบัน)

VII. นักวิจัย โครงการวิจัย เรื่อง จัดทำแผนแม่บทด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การกีฬาเพื่อความเป็นเลิศและกีฬาเพื่อการอาชีพ การกีฬาแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุพิตร สมาหิโต หัวหน้าคณะนักวิจัย (.. 2556)

VIII. ผู้ช่วยนักวิจัย โครงการวิจัย เรื่อง การขับเคลื่อนแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (..2555-2559) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุพิตร สมาหิโต หัวหน้าคณะนักวิจัย (.. 2556)

IX. อาจารย์พิเศษ โครงการปริญญาโท ภาคพิเศษ (วิชาจิตวิทยาการกีฬา) คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (.. 2555)

X. อาจารย์พิเศษ (วิชาการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ) คณะสาธารณสุขศาสตร์ (ภาคสมทบ) วิทยาลัยนครราชสีมา วิทยาคารกรุงเทพ (.. 2554 - 2555)

XI. ผู้ช่วยนักวิจัย โครงการวิจัย เรื่อง การทบทวนและประเมินผลแผนพัฒนากีฬาแห่งชาติฉบับที่ 4 (.2550 - 2554)” กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุพิตร สมาหิโต หัวหน้าคณะนักวิจัย คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (.. 2554)

XII. ผู้ช่วยนักวิจัย โครงการวิจัย เรื่อง แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมบุคลากรกีฬาขององค์กรกีฬาในส่วนภูมิภาค การกีฬาแห่งประเทศไทย โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุพิตร สมาหิโต หัวหน้าคณะนักวิจัย คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (.. 2554)

XIII. ผู้ช่วยนักวิจัย โครงการวิจัย เรื่อง การศึกษา วัด และปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกาย กรมพลศึกษา กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุพิตร สมาหิโต หัวหน้าคณะนักวิจัย คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (.. 2554)

XIV. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การกีฬา) เรื่อง การสร้างแบบวัดความเข้มแข็งทางจิตใจสำหรับนักกีฬาเทควันโด (.. 2553)

XV. อาจารย์ที่ปรึกษา รางวัลรองชนะเลิศการประกวด  โครงการรางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 9 สาขา นวัตกรรมกีฬาการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ เขียงอัจฉริยะ ระดับ .ปลาย-ปวช. โดย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูประถัมภ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และโรงเรียนพณิชยการสุโขทัย (21 - 23 .. 2552)


(คณะนักวิจัยโครงการ "การจัดทำแนวทางในการปฏิรูปการกีฬาของประเทศไทย” กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา .. 2558)


(Prof.Dr.Torres Cesar, M.1.4 Sport and Ethics - Olympic Philosophy, IOAMA V, .. 2014)

ผลงานด้านการตีพิมพ์บทความวิจัย
I. บทความวิจัย เรื่อง การสร้างแบบวัดความเข้มแข็งทางจิตใจสำหรับนักกีฬาเทควันโด วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ฉบับที่ 10 เดือนธันวาคม 2553 http://tci-thaijo.org/index.php/JSSTMU/article/viewFile/44020/36398

II. บทความวิจัย เรื่อง Corporate Governance on the National Olympic Committee of Thailand วารสาร Open Journal of Social Sciences, Vol.3 No.12, December 2015. PP. 124-133. http://www.scirp.org/journal/PaperInformation.aspx?PaperID=62090

III. บทความวิจัย เรื่อง The Marketing Factors Influencing Consumer Decisions to Use the Services Provided by An Exercise Center in Thailand: The Case Study of The Pac Sports Center วารสารการประชุมวิชาการ 9th AASM 2013 Conference Kuala Lumpur, 27th to the 28th June 2013 at the Berjaya Hotel, Kuala Lumpur, Malaysia. http://thailandolympicacademy.blogspot.com/2014/01/the-marketing-factors-influencing.html


(การประชุมวิชาการ 9th AASM Conference Kuala Lumpur, Malaysia, .. 2013)

ผลงานด้านการบริการกิจกรรมกีฬา
19  - 30 ส.ค. 2560 ปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่ประจำกองอำนวยการ 29th SEA Games 2017  กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

24 .. - 3 .. 2559 ปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่ประจำกองอำนวยการ 5th Asian Beach Games 2016  เมืองดานัง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

5 - 16 มิ.. 2558 ปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่ประจำกองอำนวยการ 28th SEA Games 2015  สาธารณรัฐสิงคโปร์

14 - 23 .. 2557 ปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่ประจำกองอำนวยการ 4th Asian Beach Games 2014  จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย

11 - 22 .. 2556 ปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่ประจำกองอำนวยการ 27th SEA Games 2013  เมืองเนปิดอร์ สหภาพเมียนม่าร์

16 - 24 .. 2556 ปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่ประจำกองอำนวยการ 2nd Asian Youth Games 2013  เมืองนานจิง สาธารณรัฐประชาชนจีน

11 - 22 .. 2554 ปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่ประจำกองอำนวยการ 26th SEA Games 2011  กรุงจาการ์ตาและเมืองปาเลมบัง อินโดนีเซีย

30 .. - 6 .. 2554 ปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่ประสานงานการแข่งขัน 7th Asian Winter Games 2011  เมือง Astana – Almaty คาซัคสถาน

7 - 14 .. 2551 ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการทีมกีฬาแบดมินตัน มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 35 “วลัยลักษณ์เกมส์  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช 

9 - 12 .. 2547 ปฏิบัติหน้าที่ Technical Service การแข่งขัน World University Badminton Championship 2004” (FISU)  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

(การแข่งขัน 7th Asian Winter Games  เมือง Astana – Almaty คาซัคสถาน .. 2554)


(การเเข่งขัน 5th Asian Beach Games  จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย .. 2557)


(การเเข่งขัน 28th SEA Games  สาธารณรัฐสิงคโปร์ .. 2557)

ปรับปรุงข้อมูล 13 ธันวาคม 2559

สุนทรียะโตเกียวเกมส์ (ตอนที่ 1) #สาระน่ารู้พิธีเปิดโตเกียวเกมส์

สุนทรียะโตเกียวเกมส์ ตอนที่ 1 สาระน่ารู้พิธีเปิดโอลิมปิกเกมส์ 2020 1.ผู้เเทนนักกีฬาถือธงชาตินำขบวนพาเหรดของเเต่ละ NOC ประกอบด้วย ผู้หญิง 1 ค...