วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Olympism: Pedagogy of an educational philosophy




Olympism: Pedagogy of an educational philosophy

Education is the core of the Olympic Movement, because all of the fundamental roles entrusted to the movement depend entirely on the educational values of the Olympic Movement. For that reason, all the key figures of Olympism put great emphasis on education. “Olympic Education and the Olympic Spirit have the power to contribute to resolving some of the most intensive social problems and teaching principles of honesty and respect (Coubertin, 1929).” Olympic Education, in general, is the process by which people learn Olympism. With respect to pedagogy, Olympic Education is the grass root for general education; its goal is to contribute to building a peaceful and better world, by educating youth through sport, without discrimination and in the Olympic Spirit, which require mutual understanding with a spirit of friendship, solidarity and fair play.

In Thailand, some of the most popular sports for Thai youth are: football, volleyball, tennis, golf, swimming, taekwondo and futsal. Unfortunately, not all young people can participate in such sports as they do not possess the skills high-level skill required. So, Physical Education classes can serve this youth population in terms of exercise and of physical fitness activities, which in any way still serves to promote a physical fitness and mental fitness. In conclusion, I would like to emphasize the need to include the values and the benefits of sport into the educational and sport program. Children who participate in sports can learn the sport moral values and become a better person, a better adult, a better athlete, a better member of the society and eventually a better citizen of the country. As administrators and educators of higher education, they need to set up educational strategies in order to provide the best program to our children. Thus, it is mandatory to introduce sport to all levels of education to let our children enjoy the best segment of their life with fun and friendships. 

Suriyan Somphong
14/02/2014



วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ใครว่าการทำวิจัยน่าเบื่อ: มุมมองนักวิจัยหน้าใหม่


ใครว่าการทำวิจัยน่าเบื่อ: มุมมองนักวิจัยหน้าใหม่

ทำไมต้องทำวิจัย? ทำวิจัยเเล้วเกิดประโยชน์อะไร? หลวมตัวเข้าสู่วังวนการทำวิจัยได้อย่างไร? ผลผลิตของการทำวิจัยสุดท้ายเเล้วสามารถนำไปใช้ได้อย่างไร? ฯลฯ มากมายหลายคำถามเหลือเกินสำหรับการเริ่มต้นเป็นนักวิจัยหน้าใหม่ เเล้วเราควรจะเริ่มต้นอย่างไรในการสร้างผลงานวิจัยให้มีคุณค่า เเละเกิดประโยชน์ต่อสังคม---การทำวิจัยจะไม่น่าเบื่ออีกต่อไป หากเราสามารถเข้าใจ เข้าถึง เเละซึมซับกระบวนการของการสร้างความรู้ให้เป็นระบบ โดยใช้เวลาให้คุ้มค่ากับการพิจารณาในทุกขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. ทำไมคิดจะทำวิจัยเรื่องนี้
2. ทำวิจัยเรื่องนี้ได้ประโยชน์อะไร
3. วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คืออะไร
4. กรอบแนวคิดที่ใช้มีที่มาที่ไปอย่างไร
5. ทำไมตั้งสมมติฐานในลักษณะนี้
6. กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่างจากอะไร แล้วใช้เกณฑ์มาตรฐานใดในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
7. ทฤษฎีที่นำมาใช้มีอะไรบ้าง เป็นอย่างไร ทำไมจึงนำมาใช้ และศึกษาจากเเหล่งข้อมูลไหน
8. งานวิจัยที่นำมาใช้อ้างอิงเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง ทำไมจึงนำมาใช้
9. เครื่องมือสำหรับการวิจัยได้มาจากไหน สร้างจากอะไร มีกี่ตอน มีอะไรบ้าง
10. มีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือหรือไม่ อย่างไร
11. ทำไมถึงเลือกใช้สถิตินี้ เพราะอะไรจึงใช้ และใช้อย่างไร
12. ผลการวิจัยเป็นอย่างไร อะไรคือข้อค้นพบ และตอบสมมติฐานเป็นอย่างไร
13. ผลสรุปที่ได้เกี่ยวข้องกับงานวิจัย หรือสอดคล้อง หรือตรงกันข้ามกับงานวิจัยอื่นหรือไม่ อย่างไร
14. จะทำอย่างไรต่อไป เมื่อได้สร้างองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมาจากการวิจัย
15. สังคมได้รับประโยชน์จากองค์ความรู้ที่เป็นข้อค้นพบของเรามากน้อยเพียงใด

เมื่อพิจารณางานวิจัยอันหลายหลากอย่างวิกฤติ พบว่า “วิธีการคิด และกระบวนการทำวิจัย” สามารถอธิบายว่างานวิจัยไหนคือ มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิต หรืองานวิจัยทั่วไป โดยสามารถวิเคราะห์ได้จาก “ลุ่มลึกยากใหญ่

ความลึก คือ หลักการ  ทฤษฎี  ความรู้ใหม่  อ้างอิงได้
ความยาก คือ วิธีการวิจัย สถิติ การได้มาของข้อมูล
ความใหญ่ คือ ระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ ระดับนานาชาติ

การวิจัยอาจเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตหลายๆคน ที่จะต้องอยู่กับมันไปตลอดชีวิตของการเป็นมนุษย์ โดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลย นั่นหมายความว่า สิ่งต่างๆที่เราต้องการที่จะเรียนรู้ เเละสืบค้นเพื่อหาคำตอบให้กับตัวเองนั้น จำเป็นต้องเข้าใจ เข้าถึง เเละซึมซับกระบวนการของการสร้างความรู้ให้เป็นระบบ โดยใช้เวลาให้คุ้มค่ากับการพิจารณาในทุกขั้นตอนของการศึกษารากฐานของความรู้นั้นๆอย่างวิกฤต การค้นพบก็จะเป็นสิ่งที่เราเชื่อมั่นได้ว่าเป็นไปตามข้อเท็จจริงเเละถูกต้อง เเละนำไปถ่ายทอดเเละต่อยอดความรู้ต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

[พูดอะไร จำเป็นต้องพูดในสิ่งที่เรารู้จริง 
ความจริง จำเป็นต้องพิจารณาจากข้อมูล 
ข้อมูลที่ดีในการสืบค้นต้องมีความเชื่อถือได้ 
ความเชื่อถือได้ส่วนหนึ่งต้องผ่านกระบวนการศึกษาวิจัย 
"การวิจัย" จึงมีความจำเป็นเเละมีความสำคัญ
ต่อการที่จะนำเสนอข้อค้นพบ เพื่อนำไปสู่การขยายความรู้ต่อไป]


เรียบเรียงโดย

สุริยัน สมพงษ์
5 กุมภาพันธ์ 2557 
(ปรับปรุง 14/6/59)


สุนทรียะโตเกียวเกมส์ (ตอนที่ 1) #สาระน่ารู้พิธีเปิดโตเกียวเกมส์

สุนทรียะโตเกียวเกมส์ ตอนที่ 1 สาระน่ารู้พิธีเปิดโอลิมปิกเกมส์ 2020 1.ผู้เเทนนักกีฬาถือธงชาตินำขบวนพาเหรดของเเต่ละ NOC ประกอบด้วย ผู้หญิง 1 ค...